ใส่ข้อความที่ต้องการค้นหา 
ตัวช่วยในการค้นหา : งานแผนก หัวหน้างานทะเบียน หัวหน้างานวัดและประเมินผล หัวหน้างานวิทยาบริการและห้องสมุด หัวหน้างานศูนย์ประสานงานการฝึกงานของนักศึกษาและทวิภาคี หัวหน้างานอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำวิชา งานแนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าฝ่ายพัฒนากิจกรรมนักศึกษา การทำบัตรประจำตัว งานอาคารสถานที่ จรรยาบรรณครู ระเบียบการปฏิบัติงานของอาจารย์  การมาสาย การลา ขั้นตอนการอบรม เกณฑ์ประเมินการปฏิบัติงาน

สำนักวิชาการ

รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการ  มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
   1. การวางแผนงานฝ่ายวิชาการ
        1.1 รวบรวมและจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ
        1.2 จัดทำแผนงานวิชาการ
        1.3 จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
        1.4 จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานวิชาการ
   2. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
        2.1 จัดทำ รวบรวมและตรวจสอบแผนการเรียน ของทุกแผนกวิชาให้ตรงกับโครงสร้างของหลักสูตร
        2.2 จัดทำตารางสอน ตารางเรียนร่วมกับแผนกวิชาต่างๆ และสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง
        2.3 จัดทำแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานหลักสูตรการเรียนการสอน
        2.4 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนฐานสมรรถนะร่วมกับสถานประกอบการและหน่วยงาน ภายนอกเพื่อจัดรายวิชาและสาขางานให้สอดคล้องกับนโยบาย ความต้องการของตลาดแรงงาน ชุมชน ท้องถิ่น สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
        2.5 จัดหารวบรวมและพัฒนาหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อความรู้หรือทักษะในการประกอบอาชีพหรือ การศึกษาต่อ ซึ่งจัดขึ้นเป็นโครงการหรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
        2.6 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้สอนในสถานศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ จุดหมาย และหลักเกณฑ์ การใช้หลักสูตร ตลอดจนระเบียบการจัดการศึกษา
        2.7 ประสานงานกับแผนกวิชาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ทั้งระบบการเทียบโอนความรู้และ ประสบการณ์วิชาชีพ และสะสมหน่วยกิต
        2.8 ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนให้ตรงตามหลักสูตร
        2.9 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้สอนจัดทำเอกสารประกอบการสอนและจัดการเรียนการสอนสื่อ และเทคโนโลยีการสอนที่ทันสมัย
        2.10 รวบรวม และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณค่าต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อประโยชน์ทาง การศึกษา
        2.11 ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
        2.12 จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
   3. การบริหารงานวิชาการ
        3.1 สรรหา คัดเลือก และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของครู
        3.2 วางแผนการจัดตารางเรียน ตารางสอน และตารางการใช้ห้อง
        3.3 ติดตามดูแลงานการจัดครูเข้าสอนแทน
        3.4 ตรวจเยี่ยมชั้นเรียน / ฝ่าย / แผนก / หมวด
        3.5 กำกับดูแลการใช้แบบเรียน เอกสารประกอบการเรียน
        3.6 ติดตาม กำกับ ดูแล
           3.6.1 พัฒนาศูนย์วิทยบริการ (ห้องสมุด) / แหล่งการเรียนรู้
           3.6.2 ฝ่าย / แผนกวิชา / หมวด
           3.6.3 งานทะเบียน
           3.6.4 งานวัดผล
           3.6.5 งานนิเทศนักศึกษาและระบบทวิภาคี
           3.6.6 งานอาจารย์ที่ปรึกษา
   4. การพัฒนาส่งเสริมทางด้านการเรียนรู้
        4.1 วางแผนงานนิเทศภายในโรงเรียน
        4.2 พัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ
        4.3 วางแผน กำกับ ดูแล ติดตามงานการจัดสอนซ่อมเสริมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
        4.4 วางแผนประสานงานการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน
        4.5 วางแผน ติดตาม กำกับดูแลการจัดกิจกรรมนักเรียนตามหลักสูตร
        4.6 ส่งเสริม พัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้
        4.7 ส่งเสริมและพัฒนาครูทางด้านวิชาการ
        4.8 สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา
   5. การพัฒนาส่งเสริมด้านการจัดการเรียนการสอน
        5.1 ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ และบันทึกหลังสอน
        5.2 ให้มีการจัดหา จัดทำ บำรุงรักษาและส่งเสริมการผลติสื่อ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และงานวิจัย
        5.3 ส่งเสริมการจัดการเรียนการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   6. การวัดและประเมินผลการเรียน
        6.1 วางแผน ติดตาม กำกับ ดูแลการจัดทำแผนการดำเนินการวัดผลประเมินผลการเรียน
        6.2 ดำเนินการประสานงานการสร้างและปรับปรุงเครื่องมือวัดผลการเรียน
        6.3 จัดให้มีเอกสารและแบบฟอร์มเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล
        6.4 ดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานการวัดผลและการประเมินผลการเรียน
        6.5 วางแผนพัฒนาคุณภาพการวัดผลประเมินผล
   7. การจัดระบบสารสนเทศและแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
        7.1 จัดระบบสารสนเทศด้านงานวิชาการ
        7.2 จัดทำแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
   8. การประเมินผล
        8.1 วางแผน กำกับ ติดตามการประเมินการปฏิบัติงานวิชาการ
        8.2 วางแผน กำกับ ติดตามการประเมินบุคลากรครู
        8.3 ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการโครงการต่าง ๆ

หัวหน้าฝ่ายวิชาการช่างอุตสาหกรรม ฝ่ายบริหารธุรกิจ ฝ่ายการศึกษาทั่วไป  มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
        1. เป็นคณะกรรมการฝ่ายและคณะกรรมการวิชาการ ในการให้ข้อเสนอแนะงานด้านต่าง ๆ ของวิทยาลัย
        2. ติดตามงานวิชาการในวิทยาลัยเและหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกับผู้ช่วยผู้อำนวยการ และหัวหน้าแผนกวิชา
        3. จัดทำแผนงาน โครงการของฝ่ายวิชาการให้เป็นไปตามนโยบายของโรงเรียน
        4. ทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
        5. จัดประชุมครู เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
        6. นิเทศการสอน
        7. ตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำส่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ
        8. ติดตามการปฏิบัติงานสอน การจัดทำสื่อ และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
        9. ตรวจเอกสารด้านการวัดผล ประเมินผล ร่วมกับหัวหน้าแผนกและหัวหน้าหมวด
        10. รวบรวมข้อมูล ประเมินผล และเสนอรายงานการปฏิบัติงานประจำปีต่อผู้บริหาร
        11. งานวางแผนงานวิชาการ
           11.1 วางนโยบายในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับปรัชญาและนโยบายของวิทยาลัย
           11.2 จัดระบบงานของฝ่าย
           11.3 จัดบุคลากรในการปฏิบัติงาน
           11.4 จัดทำโครงการแผนปฏิบัติงานพร้อมนำเสนองบประมาณต่อผู้บริหารเพื่อขออนุมัติ
           11.5 จัดประชุมชี้แจงแผนและโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วเพื่อให้ครูภายในฝ่ายนำไปปฏิบัติ
           11.6 จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานของฝ่าย
        12. งานพัฒนาการเรียนการสอน
           12.1 ดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับการสอนโดยส่งเสริมสนบัสนุน ให้มีการทำแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ทำบันทึกการสอนและอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียน- การสอน
           12.2 จัดดำเนินการและประสานงานให้การนิเทศภายในวิทยาลัย เป็นไปอย่างมีระบบและมี ประสิทธิภาพ
           12.3 พัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา
           12.4 วิจัยและพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน
        13. งานส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
           13.1 จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพทางวิชาการภายในวิทยาลัย
           13.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนเข้าแข่งขันภายนอกวิทยาลัย
           13.3 ส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้
           13.4 ส่งเสริมและพัฒนาอัจฉริยภาพของนักศึกษา
        14. งานติดตามและประเมินผล
           14.1 ติดตามควบคุมงานให้เป็นไปตามแผนงาน
           14.2 ประเมินผลเป็นระยะ ๆ ตามสภาพจริง
           14.3 ประเมินผลเมื่อโครงการหรือแผนงานนั้น ๆ เสร็จสิ้น
           14.4 รายงานให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และผู้อำนวยการทราบอย่างเป็นทางการและมีหลักฐานเมื่อ เสร็จสิ้นโครงการ
           14.5 จัดทำกราฟสถิติทางการวัดผลประเมินผล
           14.6 จัดทำคลังข้อสอบ
        15. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร

หัวหน้าแผนก/ หัวหน้าสาขาวิชา /หัวหน้าหมวด มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
           1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน วิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและ ตารางสอนส่วนบุคคลของสาขาวิชา/หมวดวิชา
           2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการ สอน การฝึกงานและการวัดผลประเมินผลและการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตร
           3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชา เพื่อ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการ ประเมินคุณภาพภายนอก
           4. จัดหา ดูแลรักษา วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของสาขาวิชา ให้ใช้งานได้เป็น ปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
           5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การ เรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบงานต่างๆ
           6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ใบความรู้ ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตร และแผนการจัดการ เรียนการสอน รวมถึงสอดแทรกค่านิยม 12 ประการ ลงในแผนการจัดการเรียนรู้
           7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษาและลงทะเบียนผลติผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
           8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาด เรียบร้อย ทันสมัยอยู่ เสมอ
           9. ปกครอง ดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามระเบียบของวิทยาลัย และเสนอความดี ความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
           10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
           11. จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
           12. ดูแล บำรุงรักษาและรับผิดชอบทรัพย์สินของวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมาย
           13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

หัวหน้างานวัดและประเมินผล  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
        1. ส่งเสริมสนับสนุนครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามระเบียบการวัดผล และประเมินผล
        2. กำกับ ดูแล จัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลในสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบ
        3 . ดำเนินการเกี่ยวกับการโอนผลการเรียน ร่วมกับฝ่ายวิชาการ หัวหน้าแผนกและหมวด
        4. ตรวจสอบผลการให้ระดับคะแนนก่อนเสนอคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาและผู้อำนวยการ เพื่ออนุมัติผลการเรียน
        5. รวบรวมผลการเรียนที่ได้รับการอนุมัติแล้วส่งงานทะเบียน
        6. จัดสอบมาตรฐานวิชาชีพร่วมกับแผนกวิชาและรายงานผลการประเมินตามระเบียบ
        7. ดำเนินการจัดการสอบ วิเคราะห์ข้อสอบและจัดทำข้อสอบมาตรฐาน
        8. เก็บรักษาและทำลายเอกสารหลักฐานการประเมินผลการเรียนและเอกสารเกี่ยวกับงานวัดผล และประเมินผลการเรียนตามระเบียบ
        9. ดำเนินการเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนความรู้และประสบการณ์ร่วมกับฝ่าย วิชาการ หัวหน้าแผนก หัวหน้าหมวด
        10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
        11.จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
        12. การดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
        13. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร

หัวหน้างานวิทยาบริการและห้องสมุด  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
        1. วางแผนพัฒนาการบริการห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
        2. จัดระบบการบริการให้ได้มาตรฐาน
        3. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
        4. จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้นการ
        5. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
        6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

หัวหน้างานศูนย์ประสานงานการฝึกงานของนักศึกษาและทวิภาคี  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
        1. จัดการศึกษาวิชาชีพโดยร่วมมือกับสถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถไปประกอบอาชีพได้
        2. จัดทำแผนและคู่มือการฝึกตามโครงสร้างของหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการในการวิเคราะห์ จุดประสงค์รายวิชาและมาตรฐานรายวิชาที่ฝึกอาชีพ
        3. วางแผนร่วมกับสถานประกอบการในการนิเทศ ติดตาม การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ และมีการวัดผล และประเมินผล ควบคุมกำกับดูแล และแก้ปัญหาต่างๆ
        4. ประชุมสัมมนาครูฝึก ครูนิเทศ เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี
        5. ติดต่อประสานงานกับแหล่งงานและสถานประกอบการเพื่อการจัดหาที่ฝึกงานให้กับนักเรียน นักศึกษา
        6. จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
        7. การดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
        8. ปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย

ที่ปรึกษา / แนะแนว

หัวหน้างานอาจารย์ที่ปรึกษา  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
        1. ให้คำปรึกษา แนะนำการทำและตรวจสอบหลักฐานสัญญาการเป็น นักศึกษา
        2. ปฐมนิเทศ นักศึกษาในความรับผิดชอบ ให้รู้และเข้าใจ ในด้านการเรียน ความประพฤติ ระเบียบวินัย และข้อบังคับ รวมทั้งสวัสดิการและบริการต่าง ๆ ของสถานศึกษาที่นักศึกษา มีสิทธิขอรับบริการ
        3. ให้ความเห็นชอบแก่ นักศึกษาในการลงทะเบียนรายวิชา ลงทะเบียนเรียนและหรือลงทะเบียน สอบเทียบความรู้หรือประสบการณ์ การขอเปลี่ยน ขอเพิ่ม และขอถอนรายวิชา
        4. ให้คำปรึกษาและให้ความเห็นชอบในการขอผ่อนผันชำระเงินลงทะเบียนรายวิชาของนักศึกษา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ติดตาม แนะนำ และช่วยแก้ปัญหา พร้อมทั้งรายงานให้กับผู้บังคับบัญชาทราบ
        5. จัดทำ เก็บ รวบรวมประวัติ ข้อมูลการเรียน และพฤติกรรมของ นักศึกษา ที่อยู่ในความ รับผิดชอบ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกหนังสือรับรองต่าง ๆ
        6. ติดตาม ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมตามที่กำหนดไว้ใน ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียน ในแต่ละระดับแก่นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
        7. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน การคำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลยี่แก่นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
        8. แนะนำ หาทางป้องกันและติดตาม นักศึกษาที่ขาดเรียน
        9. ให้ความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดรายวิชาในการลงทะเบียนแต่ละภาคเรียน แก่นักศึกษา
        10. ติดต่อประสานงานกับผู้ปกครอง พร้อมทั้งรายงานผลการเรียนและพฤติกรรมของ นักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ผู้ปกครองทราบ
        11. ให้คำปรึกษา ตักเตือน ดูแล และปรับปรุงแก้ไขความประพฤติของนักศึกษาที่อยู่ในความ รับผิดชอบ
        12. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับ คณะวิชา ศูนย์ และงานต่าง ๆ ในสถานศึกษา
        13. เสนอโครงการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น
        14. รายงานผลการปฏิบัติงานตามลำดับชั้น
        15. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
   ขอบข่ายงานของครูที่ปรึกษา
        1. รู้จักนักเรียน นักศึกษาในความรับผิดชอบทุกคน โดยจัดทำและเก็บข้อมูล ประวัติส่วนตัวด้านการเรียน และความประพฤติของนักศึกษา
        2. แนะนำ ตักเตือน อบรม นักศึกษา ให้ประพฤติตนให้ถูกต้องตามระเบียบและข้อบังคับของสถานศึกษาอยู่เสมอ เช่น การแต่งกาย การพูด สิทธิและหน้าที่ในการเป็น นักศึกษา
        3. พิจารณา ตรวจสอบ ให้ความเห็นชอบ ในกรณีต่อไปนี้
           3.1 การลงทะเบียนรายวิชา
           3.2 การผ่อนผันชำระเงินค่าลงทะเบียนรายวิชา
           3.3 การลาพักการเรียน
           3.4 การขอเปลี่ยน ขอถอน และขอเพิ่มรายวิชา
           3.5 การเข้าร่วมกิจกรรม
           3.6 ฯลฯ
        4. ตรวจสอบผลการเรียนของ นักศึกษาในความรับผิดชอบทุกภาคเรียน
        5. ประสานงานกับครู หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างาน ฯลฯ เพื่อร่วมกันพิจารณาช่วยเหลือ นักศึกษาในเรื่องการเรียน
        6. ประสานงานกับฝ่ายงานปกครองและงานแนะแนวฯ เพื่อร่วมกันพิจารณา ช่วยเหลือ นักศึกษาที่มีปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน
        7. รายงานผลการเรียนและความประพฤติของนักศึกษาให้ผู้ปกครองทราบอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
        8. ให้คำปรึกษาแก่ นักศึกษาในความรับผิดชอบในเรื่องการเรียน และเรื่องส่วนตัวทั้งเป็นกลุ่มและ รายบุคคล
        9. หมั่นพบปะ นักศึกษาในความรับผิดชอบเป็นประจำ
        10. พบปะกับผู้ปกครอง นักศึกษาตามโอกาสอันควร
   จรรยาบรรณของครูที่ปรึกษา
        1. ต้องคำนงึถึงสวสัดิภาพ ขวัญและกำลังใจของ นักศึกษาอยู่เสมอ ไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่นักเรียน นักศึกษาโดยไม่เป็นธรรม
        2. ต้องรักษาความลับของนักศึกษา
        3. ต้องมีความจริงใจและช่วยเหลือ นักศึกษาที่รับผิดชอบ เช่น ลูกหลานของตน
        4. การให้คำปรึกษา ควรให้ความเห็นเป็นกลาง ๆ ไม่วิจารณ์บุคคลหรือสถาบันใดให้ นักศึกษาฟัง ในทางก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความแตกร้าวแก่บุคคลหรือสถาบัน
        5. ต้องประพฤติปฏิบัติให้สมกับความเป็นปูชนียบุคคล ยึดมั่นในคุณธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี แก่นักศึกษา
   ภารกิจที่ครูที่ปรึกษาต้องทำ
        1. พบ นักศึกษาเป็นประจำ หรือตามที่สถานศึกษากำหนด ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพบครูที่ปรึกษา (HOME ROOM) กิจกรรมการเข้าแถวหน้าเสาธง
        2. จัดทำสมุดประจำตัวนักศึกษา และบันทึกข้อมูลในคู่มือครูที่ปรึกษา อย่างครบถ้วน สมบูรณ์
        3. ติดต่อกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดและรายงานผลการเรียน ความประพฤติ สขุภาพ และอื่น ๆ โดยใช้สมุดประจำตัว นักศึกษาหรือเอกสารต่าง ๆ ให้ผู้ปกครองทราบ
        4. ศึกษา ระเบียบ กฎข้อบังคับต่าง ๆ ของสถานศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้คำแนะนำ ตักเตือนแก่ นักศึกษาที่ประพฤติไม่เหมาะสมหรือประพฤติผิดระเบียบต่างๆ เป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
        5. ส่งเสริมความดี ความสามารถและคุณธรรมของนักเรียน นักศึกษาโดยการให้ข้อคิดเห็น การอบรมและส่งเสริมให้นักศึกษา ได้ปฏิบัติเป็นนิสัย เป็นประจำ โดยเฉพาะในชั่วโมงกิจกรรมพบครู ที่ปรึกษา (HOME ROOM)
        6. หาโอกาสไปเยี่ยมบ้านเพื่อพบผู้ปกครองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        7. ให้ความเห็นในการรับรองความประพฤติ ผลงานดีเด่น ตลอดจนความสามารถพิเศษต่าง ๆ
        8. ปรึกษาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันแก้ไขเมื่อมีปัญหา หรือหาทางป้องกันก่อนเกิดปัญหา
        9. เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำ แฟ้มสะสมงาน (PORTFOLIO) ของนักศึกษา
        10. บันทึกคะแนนอัตลักษณ์ ความรับผิดชอบของนักศึกษา ให้เป็นปัจจุบัน

ครู – อาจารย์ประจำวิชา
     คุณสมบัติ
        1. เป็นผู้มีความประพฤติดี วางตัวเหมาะสมกับการเป็นครู
        2. มีความรู้และแม่นยำในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี
        3. มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
        4. เป็นผู้ที่ทันโลก ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
        5. ความจริงใจ และพยายามเข้าใจนักศึกษาที่สอนทุกคน
        6. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
        7. มีความเข้าใจงานที่รับผิดชอบ กระตุ้นนักศึกษาให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
     หน้าที่
        1. เข้าสอนและออกสอนตรงเวลา
        2. อบรมสั่งสอนนักเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายของนักศึกษา
        3. จัดทำแผนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมให้เสร็จสิ้น ก่อนทำการสอนในแต่ละภาคการศึกษา ล่วงหน้า และบันทึกผลหลังสอนทุกครั้งที่ทำการสอนจบลง และนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาเขียนลง ในแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปากกาเน้นข้อความให้เห็นชัดเจน นำค่านิยม 12 ประการ ใส่ในแผนการสอน เช่น มีบทเรียนสำรอง ใบงานสำรองให้กับนักศึกษาที่มีศักยภาพที่แตกต่างกัน และมีกิจกรรมเพิ่มเติมจากเนื้อหาที่เรียน
        4. ห้ามลอกผลงานวิจัยของคนอื่น ถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรง
        5. จัดหา/ผลติสื่อการสอน อุปกรณ์การสอนให้เพียงพอและเหมาะสมกับวิชาที่สอน
        6. นำเทคนิคใหม่ๆ มาปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        7. กระตุ้นให้นักศึกษารักการอ่าน การค้นคว้า เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
        8. วัดและประเมินผลตามระเบียบของวิทยาลัย ให้เป็นปัจจุบัน และเป็นแบบกัลยาณมิตร
        9. ออกข้อสอบให้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้และส่งตรงตามเวลาที่กำหนด
        10. ให้ความร่วมมือกับฝ่ายต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้เรียน
        11. ทำวิจัยในชั้นเรียน อย่างน้อย ๑ ชิ้น ใน ๑ ปีการศึกษา
        12. วิเคราะห์นักศึกษาที่เรียนไม่ทันเพื่อนเป็นรายบุคคลเพื่อแก้ปัญหาด้านการเรียนของนักศึกษา
        13. หน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
        14. บันทึกคะแนนอัตลักษณ์ ความรับผิดชอบของนักศึกษา ให้เป็นปัจจุบัน

งานแนะแนว
     บริการให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือส่งเสริม จัดบริการให้คำปรึกษารายกลุ่ม รายเดียว (ทุกวัน)
     วัตถุประสงค์
        1. เพื่อส่งเสริม ป้องกันนักเรียน/นักศึกษาที่ไม่มีปัญหาให้รู้จักพัฒนาตนเองให้มีความมั่นคงและเป็น สุขในการดำเนินชีวิตได้
        2. เพื่อส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาในกลุ่มที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ให้รู้จักตนเอง และสามารถแก้ไขป้องกันพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        3. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหานักเรียน/นักศึกษาในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น และส่งเสริมป้องกันให้แนวทางใน การตัดสินใจแก้ปัญหาได้
        4. เพื่อให้นักเรียน/นักศึกษาทุกคนดำเนินชีวิตในสังคมอย่างรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ และมีชีวิตที่เป็นสุข
        5. เพื่อส่งเสริมกลุ่มปกติ กลุ่มพิเศษ ให้ดียิ่งขึ้น
        6. เพื่อแก้ปัญหาจากกลุ่มมีปัญหา กลุ่มเสี่ยง ให้เป็นกลุ่มปกติ
     งานบริการแนะแนว
        1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล
           1.1 การสำรวจและศึกษาข้อมลูรายละเอียดเกี่ยวกับบัตรนักศึกษา
           1.2 การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางการแนะแนว
           1.3 การเยี่ยมบ้านนักศึกษา
           1.4 การทำระเบียนสะสม
           1.5 การสำรวจปัญหาและความต้องการของนักศึกษา
           1.6 การจัดหาและจัดทำเครื่องมือทางการแนะแนว
           1.7 การวิเคราะห์ และวินิจฉัยข้อมลูของนักศึกษา
        2. บริการสนเทศ
           2.1 การจัดหาผลิต รวบรวมเอกสารต่างๆ
           2.2 การจัดศูนย์สนเทศ
           2.3 การจัดบอร์ดเพื่อเสนอข้อควรรู้
           2.4 การประชาสัมพันธ์ เช่น การทำจุลสาร การจัดรายการวิทยุวิทยาลัย
           2.5 การผลิตเอกสารในรูปแบบต่างๆ
           2.6 การประชุมชี้แจงนักศึกษา การเผยแพร่ความรู้เรื่องการแนะแนว
        3. บริการให้คำปรึกษา
           3.1 การให้คำปรึกษารายบุคคล
           3.2 การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม
           3.3 การติดต่อผู้ปกครอง
           3.4 การส่งตัวนักศึกษาไปให้หน่วยอื่นช่วยแก้ปัญหา (กรณีพิเศษ)
           3.5 การให้บริการแก่ผู้ปกครองที่มาปรึกษา
           3.6 การติดตามผลหลังให้คำปรึกษา
           3.7 การเก็บสถิติหลังให้คำปรึกษา
        4. บริการจัดวางตัวบุคคล ส่งเสริม ช่วยเหลือ พัฒนา
           4.1 บริการช่วยเหลือนักศึกษา ในการเลือกแผนการเรียน การศึกษาต่อและอาชีพ
           4.2 การพิจารณาทุนการศึกษา
           4.3 การหางานพิเศษให้นักศึกษา การสนับสนุนให้มีรายได้พิเศษระหว่างเรียน
        5. บริการติดตามและประเมินผล
           5.1 ติดตามผลนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา
           5.2 ติดตามผลนักศึกษา ที่ได้รับบริการ
           5.3 การนำเสนอผลการติดตาม
        6. งานอื่นๆ
           6.1 งานที่ได้รับมอบหมายจากทางโรงเรียนหรืองานพิเศษ
           6.2 งานประชุมครูแนะแนวเพื่อปรึกษาหารือและพัฒนางานแนะแนว
           6.3 งานดูแลห้องแนะแนวและเก็บรักษาเครื่องมือทางการแนะแนว
           6.4 งานติดต่อประสานงานกับสถาบันต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสเตรียมตัวเพื่อการศึกษาต่อ และอาชีพ
     ครูแนะแนวเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อการจัดระบบงานแนะแนวในสถานศึกษา โดยมีบทบาทสำคัญดังนี้
        1. เป็นผู้วางแผนและจัดทำโครงการแนะแนว เพื่อเสนอผู้บริหาร ตามนโยบายของสถานศึกษา โดยมีการ สำรวจสภาพแวดล้อม และข้อมูลจากนักศึกษาทุกคน ในสถานศึกษา เพื่อให้การวางแผน และโครงการ ตอบสนอง ต่อปัญหาและความต้องการของนักศึกษา และชุมชน
        2. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน การประสานงาน และติดตามประเมินผลในการจัดบริการแนะแนว ให้ครอบคลุม ตามแผนงานและโครงการที่กำหนด
        3. เป็นผู้จัดทำแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรและกิจกรรม ส่งเสริมหรือบำบัด พิเศษ เฉพาะราย เฉพาะกลุ่ม
        4. เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ครู ผู้ปกครอง นักศึกษา ที่มีปัญหาซับซ้อน เกินความสามารถของครู ที่ปรึกษา หรือ ส่งต่อเด็กไปยังผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง หากปัญหานั้นเกินความสามารถของตน
        5. จัดทำ แผนและดำเนินการในการพัฒนาครูหรือบุคลากรแนะแนวในสถานศึกษา

ขั้นตอนการดำเนินการให้คำปรึกษา

การช่วยเหลือ นักเรียน/นักศึกษาขอทุน
ขั้นตอนการขอทุน
ทุนเรียนดี, ทุนมารยาท, ทุนช่วยเหลือกิจกรรมโรงเรียน, ทุนอาหารกลางวัน

ขั้นตอนการขอยืมเงิน c-tech รวมใจ

ขั้นตอนการช่วยเหลือนักเรียน/นักศึกษาตั้งครรภ์


บทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาในการทำงานเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ภาระหน้าที่ของการเป็นที่ปรึกษาของงานแนะแนว

รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
     2.1 โดยการสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการเรียน ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลของความสามารถพิเิศษ แล้วบันทึกในแฟ้มอิเล็คโทรนิค
        ขั้นตอนในการบันทึกในแฟ้มอิเลคโทรนิค
           - สัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมด
           - ดูหน้าจอบูรณาการ ด้านการเรียน ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัว ชู้สาว ด้านการขาดเรียน มาสาย แล้วนำปัญหามาเป็นโจทย์ในการสัมภาษณ์ โดยใช้ข้อมูลในจอบูรณาการติดตามและวิธีแก้ปัญหา ทำการบันทึกในแฟ้มอิเลคโทรนิคอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเทอม
     รายละเอียดในการบันทึกควรมีข้อความดังต่อไปนี้
        1. ด้านการเรียน (เกรดเฉลี่ย คะแนนสอบ การมาเรียน การขาดเรียน)
        2. ด้านเศรษฐกิจ (กู้ทุนอะไร ทำงานระหว่างเรียน เงินที่ได้จากโรงเรียน ได้รับทุนอะไร พ่อแม่มีรายได้้เท่าไร)
        3. ด้านครอบครัว (พ่อแม่อยู่ด้วยกันหรือแยกกันอยู่ มีปัญหาอะไรบ้าง)
        4. ด้านพฤติกรรม (เรียบร้อย , ซึมเศร้า , ก้าวร้าว)
        5. ด้านความสามารถพิเศษ (ทำกิจกรรมอะไร ,ได้รับรางวัลอะไรบ้าง)

การรู้จักนักเรียน / นักศึกษาเป็นรายบุคคลและการคัดกรอง
     2.2 ทำกิจกรรมโฮมรูม
        ความสำคัญของกิจกรรมโฮมรูม เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้อาจารย์ที่ปรึกษามีโอกาสคุ้นเคยและรู้จัก นักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งจะช่วยอาจารย์ที่ปรึกษาให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ มีบรรยากาศเสมือนบ้าน ที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาและนักเรียนเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน และมีการนำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนร่วมกัน
     วัตถุประสงค์ของกิจกรรมโฮมรูม
        1. เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษารู้จักนักเรียน และคุ้นเคยกับนักเรียนเป็นรายบุคคล
        2. เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล
        3. เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาจัดกิจกรรมกลุ่มในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนานักเรียน
        4. เพื่อเสริมสร้างทักษะ ชีวิต และทักษะทางสังคมให้กับนักเรียน

การทำกิจกรรมโฮมรูม

     2.3 การให้คำปรึกษา ติดตามพฤติกรรม
        เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษารู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ให้คำปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือ นักเรียน / นักศึกษา ถ้าเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ส่งให้ฝ่ายแนะแนวดำเนินการติดตามช่วยเหลือ

บริการจัดวางตัวบุคคล
     จัดหางานให้นักเรียน / นักศึกษาทำระหว่างเรียน
        - โดยมีสถานประกอบการมาตั้งโต๊ะรับสมัครงานทุกวันศุกร์ ทำงานช่วงวันเสาร์
        - วันอาทิตย ์และ ตอนเย็นหลังเลิกเรียน ทำเป็นงานประจำ
        - จัดหาสถานประกอบการที่รับทำงานชั่วคราว เช่น โรงแรมเอเซีย โรงแรมปริ้นพาเลส โรงแรมอมารีวอเตอร์เกรท โรงแรมบางกอกพาเลส ฯลฯ

เมื่อ นักศึกษาต้องการมีรายได้พิเศษระหว่างเรียน


บริการติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน / นักศึกษา ที่จบการศึกษา
     จะทำการติดตาม ทำการติดตามนักเรียน/นักศึกษา เมื่อนักเรียน/นักศึกษาจบการศึกษา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี โดย
        ครั้งที่ 1 เมื่อนักเรียน/นักศึกษา จบการศึกษา 3 เดือน ฝากแบบสอบถามฝ่ายทะเบียนและวัดผล
        ครั้งที่ 2 เมื่อนักเรียน/นักศึกษา จบการศึกษา 6 เดือน ฝากแบบสอบถามฝ่ายสำนักอำนวยการและ จดหมายสอบถามที่บ้าน
        ครั้งที่ 3 เมื่อนักเรียน/นักศึกษา จบการศึกษา 12 เดือน ฝากแบบสอบถามที่บ้านของนักเรียน/นักศึกษา
        ครั้งที่ 4 เมื่อนักเรียน/นักศึกษา จบการศึกษา 3 ปี ฝากแบบสอบถามที่บ้านของนักเรียน/นักศึกษา
        ครั้งที่ 5 เมื่อนักเรียน/นักศึกษา จบการศึกษา 5 ปี ฝากแบบสอบถามที่บ้านของนักเรียน/นักศึกษา
        ครั้งที่ 6 เมื่อนักเรียน/นักศึกษา จบการศึกษา 10 ปี ฝากแบบสอบถามที่บ้านของนักเรียน/นักศึกษา

การติดตามความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อนักเรียน / นักศึกษา
ขั้นตอนการสอบถามความพึงพอใจของสถานประกอบการ


ผู้ปกครองเครือข่าย
     รับสมคัรผู้ปกครองเครือข่ายในวันปฐมนิเทศ และวันประชุมผู้ปกครอง
ขั้นตอนสมัครผู้ปกครองเครือข่าย


ขั้นตอนการเก็บประวัติ นักเรียนทำความดี มีความสามารถ
     ความดี หมายถึง เก็บกระเป๋าเงิน เก็บของแล้วคืนเจ้าของ
     ความสามารถ หมายถึง ไปแข่งขันแล้วชนะเลิศจนได้รับรางวัล
ขั้นตอนการเก็บประวัตินักเรียน / นักศึกษา ทำความดีมีความสามารถ


ขั้นตอนการที่นักเรียนเก็บกระเป๋า, เก็บของได้ คืนเจ้าของระหว่างฝ่ายวินัยหรือ ฝ่ายอื่น ๆ ที่ประสานกับฝ่ายแนะแนว


ฝ่ายกิจการนักศึกษา

หัวหน้าฝ่ายกิจการนักศึกษา
        1. ดำเนินการ จัดการงาน / โครงการต่างๆ ของฝ่ายกิจการนักศึกษา
        2. รับผิดชอบ วางแผน ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานทุกงานในฝ่ายกิจกรรม
        3. ประสานงานกับผู้บริหารและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
        4. กำหนด ควบคุมดูแลปฏิทินการจัดกิจกรรมในรอบปี
        5. มอบหมาย ควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของอาจารย์ในฝ่ายกิจการนักศึกษา
        6. มอบหมาย ควบคุมดูแล การปฏิบัติงานของอาจารย์ทุกท่านที่ได้รับมอบหมายงานเกี่ยวกับงานใน ฝ่ายกิจการนักศึกษา
        7. ดำเนินการให้การจัดกิจกรรมเป็นไปตามนโยบายและการวางแผนไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
        8. กำหนดให้มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมทุกครั้งเพื่อน ไปปรับปรุงในคราวต่อไป
        9. จัดทำโครงการแผนงานละงบประมาณประจำปีของฝ่ายกิจกรรม
        10. รายงานผลการปฏิบัติงานกิจการนักศกึษาให้ผู้บริหารทราบ
        11. วางแผนกิจกรรมนักเรียน รวบรวมข้อมูล และศึกษาสภาพความพร้อมของวิทยาลัยด้านบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ
        12. เสนอผู้บริหารยกเลิกหรือระงับกิจกรรมหรือชมรมต่างๆที่เห็นว่าจะก่อให้เกิดปัญหาหรือไม่เหมาะสม
        13. มีส่วนร่วมเสนอความดีความชอบของบุคลากรในรายงานที่รับผิดชอบ
        14. รายงานการจัดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ในแต่ละภาคเรียนให้ผู้บริหารทราบ
        15. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
     งานกิจกรรมตามวาระ
     ขอบเขตงาน
        1. วางแผน ดำเนินการ จัดกิจกรรมตามวาระ
        2. ควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมตามวาระ
        3. รายงานผล สรุปผล ประเมินผล และระบุแนวทางการแก้ปัญหาของกิจกรรมตามวาระ
        4. จัดทำโครงการและปฏิบัติงานตามวาระงาน
        5. พิจารณาความเหมาะสมของการจัดโครงการต่าง ๆ ของกิจกรรมตามวาระ
        6. ร่างโครงการและนำเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติ
        7. ดำเนินการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์และหน้าที่ที่คณะกรรมการ (ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหาร) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในกิจกรรมนนั้นๆ
        8. ประสานงานกับกรรมการด้านต่าง ๆ ในโครงการของกิจกรรมตามวาระ
        9. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการของกิจกรรมตามวาระ
        10. รายงานผลสรุปโครงการ ประเมินผล และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการของกิจการตาม วาระ
     งานกิจกรรมชมรม
     ขอบเขตงาน
        1. วางแผน ดำเนินการ จัดตั้งชมรมและแต่งตั้งคณะกรรมการชมรม
        2. ควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมของแต่ละชมรม
        3. รายงานผล สรุปผล ประเมินผล และระบุแนวทางการแก้ปัญหาของกิจกรรมชมรม
        4. จัดทำโครงการและปฏิบัติงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
     งานกิจการนักศึกษา
     ขอบเขตงาน
        1. รับผิดชอบ วางแผน ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานกิจกรรมนักศึกษา
        2. ประสานงานกับผู้บริหารและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนักศึกษา
        3. ดำเนินการให้การจัดกิจกรรมนักศึกษาเป็นไปตามนโยบายและการวางแผนไปตามแนวทางที่ กำหนดไว้
        4. กำหนดให้มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมทุกครั้ง เพื่อนไปปรับปรุงในคราวต่อไป
        5. วางแผนกิจกรรมนักศึกษา รวบรวมข้อมูล และศึกษาสภาพความพร้อมของวิทยาลัยด้าน บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ
        6. รายงานการจัดกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ในแต่ละภาคเรียนให้ผู้บริหารทราบ
     งานสวัสดิการนักศึกษา
     ขอบเขตงาน
        1. แนะแนวอาชีพ ศึกษาต่อให้กับนักศึกษา
        2. ส่งเสริมนักศึกษาเรื่องการหารายได้พิเศษระหว่างเรียน
     งานข้อมูลและสารสนเทศ
     ขอบเขตงาน
        1. รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานและเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ
        2. จัดทำ web-site ของฝ่ายกิจการนักศึกษา
        3. เผยแพร่ข้อมูลในรูปของบอร์ดวิชาการหน้าฝ่ายกิจการนักศึกษาทุกสัปดาห์

ฝ่ายวินัยนักศึกษา
การติดตามนักเรียน – นักศึกษาที่ขาดเรียน

ขั้นตอนการดูแลติดตามนักเรียน / นักศึกษา

ขั้นตอนระบบกิจกรรมชมรม

ขั้นตอนการติดตามผลงานชมรม


งานศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ

การทำบัตรประจำตัว
     อาจารย์และเจ้าหน้าที่บรรจุใหม่ ติดต่อขอทำบัตรประจำตัวโดยให้ขึ้นไปที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนอาจารย์เก่าจะทำให้ในกรณีที่บัตรชำรุด โดยต้องนำบัตรเดิมมาด้วย ถ้าบัตรหายให้ทำบันทึกขอทำบัตร ใหม่ผ่านหัวหน้าฝ่ายบุคลากรมายังศูนย์เทคโนโลยีฯ ให้บริการงานต่าง ๆ
        1. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศได้ติดตั้งคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการพิมพ์ และการ Scan ต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และงานโรงเรียนเท่านั้น ให้ไปติดต่อขอใช้บริการได้ที่ห้อง เทคโนโลยีสารสนเทศ
        2. การรับเรื่องให้บริการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์, โปรแกรม, และอุปกรณ์ประจำฝ่าย หรือห้องสำนักงานต่าง ๆ สามารถแจ้งมายังฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศได้ 2 วิธี คือ
        2.1 ให้กรอกลงตามแบบฟอร์มตามที่แจกไปให้ (ดูตัวอย่าง)
        2.2 ให้ทำเป็นบันทึกแจ้งรายละเอียดของอุปกรณ์ จากนั้นให้ส่งถึงฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตรง
        3. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำการสำรวจอุปกรณ์ทุกอย่างเมื่อสิ้นปีการศึกษา ให้ฝ่ายสำรวจ และจัดส่งมาพร้อมกับเสนอขออุปกรณ์ที่ต้องการขอเพิ่ม (ตามแบบฟอร์ม) สำหรับหมวดให้ทำ บันทึกผ่านหัวหน้าฝ่ายวิชาการ
        4. ให้อาจารย์ทุกท่าน ช่วยกำชับนักเรียนเรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น การเปิด-ปิด ไฟ, แอร์, พัดลมดูดอากาศ และการประหยัดน้ำ รวมถึงการดูแลความสะอาดภายในห้องเรียน
        5. ให้อาจารย์ทกุท่านช่วยกำชับนักเรียน/นักศึกษา แจ้งความเสียหายของอุปกรณ์ ต่าง ๆ เช่น หลอดไฟขาด, แอร์เสีย, เก้าอี้ชำรุด, ประตู, หน้าต่าง, ม่าน, กระจก, พื้น, บอร์ด, เครื่องขยายเสียง, ลำโพง, ทีวี, วีดีโอ, โอเวอร์เฮ็ต, ฉากฉายโอเวอร์เฮ็ต เป็นต้น
        6. การทำกิจกรรมของฝ่ายต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ และสถานที่ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์ อักษรให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ทราบ เพื่อจะได้ประสานงานว่า ต้องการอุปกรณ์อะไรบ้าง และทางข้างเจ้าของงานต้องมาควบคุมและดำเนินการเอง
        7. อาจารย์ท่านใดที่อยู่ทำงานเกินกว่า 3 ทุ่ม หรือมาทำงานในช่วงวันหยุด จะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหัวหน้าฝ่ายของตัวเองว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ที่จะทำงานในช่วง วันหยุด และให้หัวหน้าฝ่ายแจ้งให้ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศทราบจากนั้นฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศจะรายงานให้ผู้บริการทราบต่อไป

หัวหน้างานทะเบียน  มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
        1. ศึกษา ติดตามความเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้หลักสูตร และวิธีการจัดทำเอกสารที่เป็นหลักฐานทางการศึกษา
        2. จัดหา(จัดซื้อ)แบบพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้ในงานทะเบียน เช่น
           - แบบระเบียนแสดงผลการเรียนประจำตัวนักศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) (ปพ.1 ปวช.)
           - แบบระเบียนแสดงผลการเรียนประจำตัวนักศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง พุทธศักราช 2546 (รบ.1 ปวส. )
           - แบบรายงานผลการเรียนของผ้ทูี่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) (ปพ.3 ปวช.)
           - แบบรายงานผลการเรียนของผ้ทูี่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง พุทธศักราช 2546 (รบ.2 ปวส. )
        3. รับผลการประเมินผลการสอบประจำภาคที่ผู้บริหารวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบแล้วบันทึกลงใน ระเบียนแสดงผลการเรียนประจำตัว นักศึกษา (ปพ.1 ปวช. , รบ.1 ปวส.)
        4. ตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัว นักศึกษา รหัสวิชา ชื่อรายวิชา และผลการเรียน ที่บันทึกลงในระเบียนแสดงผลการเรียนประจำตัว นักศึกษา (ปพ.1 ปวช. , รบ.1 ปวส.)
        5. รายงานผลการเรียนของ นักศึกษา ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
        6. จัดทำและตรวจสอบความถูกต้องของแบบรายงานผลการเรียนของผ้ทูี่สำเร็จการศึกษาตาม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) (ปพ.3 ปวช.) และแบบรายงานผลการเรียนของผ้ทูี่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 (รบ.2 ปวส. ) เพื่อรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
        7. ให้บริการเกี่ยวกับการออกหลักฐานการศึกษา เช่น สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียนประจำตัว นักศึกษา ใบรับรองผลการเรียน ใบรับรองสภาพการเป็นนักศึกษา เป็นต้น
        8. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกประกาศนียบัตร
        9. ดูแล เก็บรักษา หลักฐานการศึกษาของนักศึกษา ทั้งหมดในวิทยาลัย
        10. ดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบแสดงผลการเรียนประจำตัวนักศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ (Transcript)
        11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารมอบหมาย เช่น จัดทำแบบรายงานจำนวนนักศึกษาและครูเพื่อรับ การอุดหนุนเป็นเงินบำรุงการศึกษาแก่นักศึกษาในวิทยาลัย (SP) , จัดทำข้อมูลวิทยาลัย ครู/บุคลากร และ นักศึกษารายบุคคลโดยการบันทึกข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศสถานศึกษาเอกชนและการบริหารจัดการเงิน อุดหนุน (PSIS ) ร่วมกับฝ่ายบุคลากร , จัดทำข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 (ปวช.3) GPAX และ GPA ภาคฤดูร้อน

งานอาคารสถานที่

1. ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ
        • ปรัชญา พัฒนา “คน” มุ่งสู่การพัฒนา “งาน”
        • ปณิธาน สถานที่งานอาคารและสิ่งแวดล้อมจะมุ่งมั่นบริการและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
        • วิสัยทัศน์ งานอาคารสถานที่ ร่วมใจประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ใส่ใจคุณภาพงาน นำสู่มาตรฐานสากล ด้วยหัวใจบริการ
        • พันธกิจ จัดการบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนนโยบาย พันธกิจของวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา
2. วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้มีคู่มือที่กำหนดทิศทางการปฏิบัติงาน ของงานอาคานสถานที่อย่างชัดเจน
     2. เพื่อเป็นการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และความเชื่อมั่น แก่ผู้ปฏิบัติงาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องและผู้มาใช้บริการ ในขั้นตอนกระบวนการของงานอาคารสถานที่
     3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาของงานอาคารสถานที่สู่มาตรฐานงานที่ดีและมีคุณภาพ
3. ขอบเขต
     การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานของงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมเป็นการรวบรวมขบวนการปฏิบัติงานของงานอาคารสถานที่ ภายใต้โครงสร้างฝ่ายบริหารทรัพยากร อันประกอบไปด้วย
        1. หัวหน้างานอาคารสถานที่
        2. ผู้ช่วยหัวหน้างานอาคารสถานที่
        3. งานแม่บ้าน
        4. งานนักการภารโรงชาย
        5. งานนักการภารโรงหญิง
     กำหนดขอบข่ายบทบาทหน้าที่ภารงานและกระบวนการปฏิบัติงานประจำที่เป็นงานหลัก รวมถึงขั้นตอนการติดติดขอรับบริการงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติตามนโยบายและพันธกิจของวิทยาลัยฯ
     ในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม จะแสดงขั้นตอนการทำงานในรูปแบบ Flow Chart เพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการดูแลกำกับติดตามและขั้นตอนการประเมินผลงาน
4. ความรับผิดชอบ
     งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมมีความรับผิดชอบสถานที่ ภูมิทัศน์ความปลอดภัยในการดูแลอาคารมาตรการประหยัดพลังงาน การจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านการซ่อมแซมบำรุงรักษา ด้านสาธารณูปโภค ด้านความสะอาด ระบบการจัดและจองสถานที่ การดูแลภูมิทัศน์ ดำเนินตามนโยบาย พันธกิจ แผนกลยุทธ์ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม /โครงการ ของสำนักงานเขตพื้นที่ ฯ
ภาระงานของงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
     1. หัวหน้างานอาคารสถานที่
        1.1 ศึกษา วิเคราะห์ สภาพงานของกลุ่มงานอาคารสถานที่
        1.2 งานปรับปรุงและพัฒนาอาคารสถานที่
        1.3 จัดทำประมาณการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและบริเวณโดยรอบอาคารวิทยาลัยฯ
        1.4 การควบคุมมาตรการประหยัดพลังงานของวิทยาลัยฯ และจัดทำมาตรการการใช้พลังงานในวิทยาลัย
        1.5 การควบคุม ดูแล และซ่อมบำรุงรักษา ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เครื่องปรับอากาศ
        1.6 การให้บริการการใช้ห้องประชุม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประชุมต่าง ๆ
        1.7 ควบคุมดูแลการใช้เครื่องเสียง และเครื่องฉายในห้องประชุม
        1.8 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในวิทยาลัยฯ
        1.9 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามได้รับมอบหมาย
     2. งานแม่บ้าน มีหน้าที่ความรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
        2.1 ทำความรับสะอาดพื้นที่ที่ ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
        2.2 ดูแลวัสดุ อุปกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดชำรุด สูญหายและต้องพร้อมใช้งาน
        2.3 จัดและตกแต่งสถานที่ ให้มีความสวยงาม เหมาะสม ตามกิจกรรม/โครงการของสำนักงาน
        2.4 งานบริการ โดยให้บริการที่เป็นเลิศ แก่บุคลากร และผู้มาติดต่อราชการ ด้วย SERVICE MIND
        2.5 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามได้รับมอบหมาย
     3. กลุ่มงานนัการ ชาย – หญิง
        3.1 ปฏิบัติหน้าที่งานนัการ ดูแล รักษาพื้นที่ ตามที่ได้รับมอบหมาย ให้สะอาดสวยงาม ปลอดภัย
        3.2 ปรับปรุงภูมิทัศน์ บำรุงรักษาต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ เพื่อการประดับ ตกแต่งสถานที่ให้สวยงามอย่างสม่ำเสมอ
        3.3 ดูแลวัสดุ อุปกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดชำรุด สูญหายและต้องพร้อมใช้งาน
Flow Chart งานอาคารสถานที่

ขั้นตอนการแจ้งซ่อมงานอาคารสถานที่

ขั้นตอนการปฎิบัติงานงานอาคารสถานที่


งานบุคลากร

จรรยาบรรณครู
     จรรยาบรรณข้อที่ 1 ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
     จรรยาบรรณข้อที่ 2 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
     จรรยาบรรณข้อที่ 3 ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้ง ทางกาย วาจา และจิตใจ
     จรรยาบรรณข้อที่ 4 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
     จรรยาบรรณข้อที่ 5 ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์ อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามปกติและไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
     จรรยาบรรณข้อที่ 6 ครูย่อมพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ
     จรรยาบรรณข้อที่ 7 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
     จรรยาบรรณข้อที่ 8 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
     จรรยาบรรณข้อที่ 9 ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

หน้าที่และความรับผิดชอบงานบุคลากร มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
     1. แนะนำ เผยแพร่ และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานของบุคลากรของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
     2. จัดทำแผนอัตรากำลังบุคลากรในสถานศึกษา
     3. จัดทำแผนและดำเนินการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา
     4.ควบคุม จัดทำสถิติ และรายงานเกี่ยวกับการลงเวลาปฏิบัติราชการ และการลาของบุคลากรในสถานศึกษา
     5.ดำเนินการเกี่ยวกับการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การจัดทำทะเบียนประวัติของบุคลากรในสถานศึกษา
     6.ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก แก่บุคลากรในสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ การขอแก้ไขทะเบียนประวัติ การขอเปลี่ยนตำแหน่ง การขอมีและขอเลื่อนวิทยฐานะ การออกหนังสือรับรอง การขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ เงินทดแทน และการจัดทำสมุดบันทึกผลงาน และคุณงามความดีของบุคลากรในสถานศึกษา
     7.การดำเนินการทางวินัยของบุคลากรในสถานศึกษา
     8.การจัดสวัสดิการภายในให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา
     9.ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
     10.จัดทำปฏิบัติการปฏิบัติงาน เสนอโครงการ และรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
     11.ดูแลบำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
     12.ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ระเบียบการปฏิบัติงานของอาจารย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา งานบุคลากร
     การเซ็นสัญญาการปฏิบัติงาน
        1. ให้อ่านสัญญาให้รอบคอบ และทำความเข้าใจก่อนเซ็นสัญญา ถ้าเซ็นสัญญาแล้ว ถือว่ารับเงื่อนไขและพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของวิทยาลัย ฯทุกประการ ถ้าไม่ยินดีรับเงื่อนไข และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ท่านสามารถปฏิเสธการเซ็นสัญญาได้ แต่ทางวิทยาลัยจะถือว่าท่านมีความประสงค์ที่จะไม่ต่อสัญญา
        2. ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน อาจารย์ใหม่ต้องปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1 ปี 2 ภาคการศึกษา ยกเว้น สอบได้ราชการ
        3. การลาออก ต้องแจ้งล่วงหน้า อย่างน้อย 30 วัน
     การทดลองงาน และการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำและเจ้าหน้าที่
        1. วิทยาลัยฯ จะพิจารณาจ้างเป็นอาจารย์ประจำการ มีระยะเวลาในการทดลองงาน 120 วัน นับแต่วันเริ่มจ้าง
        2. ระหว่างระยะเวลาทดลองงาน หรือก่อนระยะทดลองงานสิ้นสุดลง หากพบว่า อาจารย์ไม่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือมีความประพฤติไม่เหมาะสมที่จะทำงานต่อไป วิทยาลัยฯ มีสิทธิ์ที่จะเลิกจ้าง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
        3. อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการการทดลองงาน จะได้รับการบรรจุให้เป็นอาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา
     ข้อสำคัญ ในการปฏิบัติตนของครูและเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในระหว่างทดลองงาน
        อาจารย์ที่อยู่ในระหว่างทดลองงาน ไม่ควร มาสาย ลากิจ ลาป่วย หรือลาทุกชนิด (กรณีมีเหตุจำเป็นให้แจ้งงานบุคลากรทราบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล) และประพฤติตนให้เห็นถึงความไม่เคารพกฎระเบียบ และแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อม และไม่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ถือว่าไม่ ผ่านการทดลองงาน วิทยาลัยฯ จะบอกเลิกการจ้างทันที
     วันทำงาน
        1. วิทยาลัยฯ มีวันทำงาน สัปดาห์และ 5 วัน จันทร์-ศุกร์
        2. เวลาเริ่มงาน 7.50 - เวลา เลิกงาน 16.30 น.
        3. อาจารย์ ที่ไม่แสกนนิ้วเข้างาน หรือกลับ จะถือว่า ขาดงาน
        4. การลงเวลาทำงานให้ลงเวลาตามความเป็นจริง ไม่มีการลงเวลาในตอนเช้าและลงเวลากลับพร้อมกัน ถ้าอาจารย์ท่านใดมีพฤติกรรมดังกล่าวจะถือว่าท่านผิดระเบียบวิทยาลัย
     วันหยุด
        1. วันเสาร์ - อาทิตย์ นักขัตฤกษ์
        2. วันปิดเทอม
        3. ภาคการศึกษาที่มีการสอนในช่วงปิดเทอม อาจารย์ที่ได้รับมอบหมายต้องมาทำการสอน และได้รับค่าสอนเป็นการตอบแทน

กฎระเบียบในการลงเวลาปฏิบัติงาน
   1. การมาสาย
     1.1 มาสายเกินเวลา 08.00 น.
        - กำหนดให้สามารถมาสายได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อ 1 เดือน คิดเป็น 24 ครั้งต่อ 1 ปี ถ้าเกินจำนวนดังกล่าวจะคิดเป็นมาสายตามระเบียบ
        - มาสายจำนวน 5 ครั้งให้คิดเป็นวันลากิจ 1 วัน
        - การมาสายและกลับก่อนเวลารวมกัน 5 ครั้ง ถือเป็นวันลากิจ 1 วัน
     1.2 การออกนอกบริเวณวิทยาลัยฯการออกนอกบริเวณวิทยาลัยในเวลาปฏิบัติงาน
        - ให้ทำตามระเบียบของวิทยาลัยโดยให้เขียนใบออกนอกบริเวณวิทยาลัย โดยมีหัวหน้าฝ่าย หัวหน้าสาขา หัวหน้าหมวด ผู้บังคับบัญชาตามระดับ และต้องผ่านหัวหน้างานบุคลากรและผู้อำนวยการเซ็นอนุญาตจึงจะออกนอกบริเวณวิทยาลัยได้ และให้ส่งมอบใบออกนอกบริเวณวิทยาลัยไว้ที่ป้อมยาม
   การลา
     1. การลากิจ ต้องลาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน และในหนึ่งปีการศึกษาลาได้ไม่เกิน 10 วัน ถ้าเกิน จะคิดเงินวันละ 306 บาท ( ตามค่าแรงงานมาตรฐานขั้นต่ำ)
     2. การลาป่วยติดต่อกันเกิน 2 วันต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล และ ต้องส่งใบลา หลังจากมาทำงานในวันแรก
     3. การลาคลอดบุตรลาได้ 30 วัน
     4. การลาอุปสมบท ลาได้ไม่เกิน 15 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของผู้รับใบอนุญาต
     5. กรณีไม่ส่งใบลาจะถือว่าขาดงาน
   การขาดงานมีผลดังนี้
     ขาดงาน 3 วัน ขึ้นไปจะถือว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ วิทยาลัยฯมีสิทธิ์บอกเลิกจ้างหรือไม่ต่อสัญญา ซึ่งครู / อาจารย์ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชยใดๆทั้งสิ้น
   ระเบียบการแต่งกาย
     1. จันทร์ ชุดสุภาพ
     2. วันอังคาร ชุดสุภาพ
     3. วันพุธ ชุดสุภาพ
     4. วันพฤหัสบดี ชุดพละ หรือชุดที่ทางวิทยาลัยฯกำหนด
     5. วันศุกร์ แต่งกายชุดผ้าไทย
     6. แต่งชุดสูทของวิทยาลัยฯ ในกิจกรรมตามวาระ หรือ ตามคำสั่ง
   การจ่ายเงินเดือน/เงินพิเศษ
     1. เงินเดือนจ่ายสิ้นเดือนไม่เกินวันที่ 3 ของเดือนถัดไป / เงินพิเศษไม่เกินวันที่ 15 ของเดือน
   สวัสดิการ
     1. สวัสดิการของ สช.
        1.1 เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ 12 % หาทำงานต่อเนื่องครบ 10 ปี
        1.2 ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท/ปี
        1.3 ค่าการศึกษาบุตร
        1.4 ค่าช่วยเหลือบุตร
        1.5 สิทธิ์ในการสมัคร เป็นสมาชิก ชพค. ชพส.
        1.6 สิทธิ์ในการขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
     2. สวัสดิการวิทยาลัย ฯ
        2.1 สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา
        2.2 ประกันอุบัติเหตุ
   รางวัลการทำงานด้านต่างๆ
     1. รางวัลสถิติการปฏิบัติดีเด่น ( ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย )
     2. รางวัลครูดีเด่นต่างๆที่ทางสำนักงานการอาชีวศึกษากำหนด
     3. ได้รับการฝึกอบรม พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งก่อนการทำงาน และ ระหว่างการทำงาน การฝึกอบรมพัฒนาทักษะในระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการถูกส่งไปอบรม ศึกษาดูงาน ศึกษาต่อต้องมีคุณสมบัติ คือ
        3.1 อายุงาน 1 ปีขึ้นไป
        3.2 มีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน มีความประพฤติดี
        3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของวิทยาลัย
        3.4 ยินดี ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาของการฝึกอบรม
   ระเบียบวินัยที่สำคัญ และถือเป็นความผิดร้ายแรง
     1. ผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู
     2. ไม่มีความสามารถจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับ พรบ. การจัดการศึกษา พ.ศ. 2542
     3. มีพฤติกรรมในทางชู้สาวกับนักศึกษา
     4. ดื่มสุรา ของมึนเมา ทะเลาะวิวาท และหรือเล่นการพนันในวิทยาลัยฯ
     5. ลางานบ่อยโดยไม่มีเหตุผลอันควร
     6. ขาดงานต่อเนื่อง เช่น วันหยุดประจำสัปดาห์ ได้แก่ วันเสาร์และวันอาทิตย์ แต่หยุดงานในวันศุกร์ หรือวันจันทร์
     7. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบของวิทยาลัยฯ
   หากอาจารย์ท่านใด ประพฤติปฏิบัติตน ไม่เหมาะสม ตามข้อใดข้อหนึ่ง
     จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและผลการพิจารณาของคณะกรรมการจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้
        1. ทำทัณฑ์บน
        2. เขียนใบลาออกล่วงหน้า
        3. ให้ออก
     หมายเหตุ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการ

ขั้นตอนการลาป่วย ( Flow Chart )
หมายเหตุ ใบลาป่วยจัดส่งวันแรกเมื่อมาปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการลากิจ ( Flow Chart )

การขาดงานโดยไม่ได้ลากิจ หรือลาป่วย

   หมายเหตุ จะมีการหักเงินค่าทำการสอนแทนในกรณีครูขาดงานตามฐานเงินเดือน ให้กับผู้ทำการแทน เช่น เงินเดือน 15,000 บาท หารด้วย 30 วัน คิดเป็นวันละ 500 บาท หรือ เงินเดือน 17,000 บาท หารด้วย 30 วัน คิดเป็นวันละ 567 บาท การหักเงินดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 116 ตอนที่ 11 ง. หน้า 55 วงเล็บ 4 ว่าด้วยกรณีการหักเงินกรณีชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้รับใบอนุญาตในความเสียหายที่ครูได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อและว่าด้วยการหักเงินตามวงเล็บ 2,3 และ 4 จะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ครูมีสิทธิได้รับตามกำหนด ( เงินเดือน )

ขั้นตอนการบรรจุครูที่ผ่านการทดลองงาน


สวัสดิการต่างๆจาก สช.(งานกองทุนสงเคราะห์)
        ครู บุคลากรทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการบรรจุจะได้รับเงินสวัสดิการดังนี้
        1. ค่ารักษาพยาบาลปีละ 100,000 บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน)
        2. ค่าการศึกษาบุตร
        3. เงินช่วยเหลือบุตร ปีละ 600 บาท
        4. บรรจุครบ 10 ปี จะได้รับเงินสะสม 3 %

ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

ขั้นตอนการลาออก ของครู

ขั้นตอนการลาออกของ (บุคลากรทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ )

ขั้นตอนการถอดถอนครู

งานบุคลากรรายงานการถอดถอนต่อ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมาภายใน 30 วัน

ขั้นตอนการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การพัฒนาตนเอง (อบรมภายใน / ภายนอก / ศึกษาต่อ) ครูทุกท่านจะได้รับการอบรมภายในอย่างน้อยปีละ 10 ชั่วโมงต่อปี / อบรมภายนอกตามความเหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการอบรมภายใน

ขั้นตอนการอบรมภายนอก ( กรณีมีหนังสือเชิญ )
หมายเหตุ ผู้รับเข้าการอบรมจะต้องส่งบันทึกสรุปการอบรมที่งานบุคลากรทุกครั้งหลังจากเข้ารับการอบรม

ขั้นตอนการอบรมภายนอก( กรณีไม่มีหนังสือเชิญ )

ขั้นตอนการออกนอกบริเวณวิทยาลัยฯ

   หมายเหตุ กรณีออกนอกบริเวณวิทยาลัยฯในกิจธุระส่วนตัวออกได้ไม่เกิน....2...ครั้งต่อ 1 เดือนหรือ 24 ครั้ง1 ปีการศึกษา ให้บริหารจัดการกิจธุระส่วนตัวให้เป็นระบบไม่กระทบต่อเวลาการทำการของวิทยาลัยฯ กรณีงานวิทยาลัยฯ งานบุคลากรจะไม่นำมาเป็นข้อมูลสถิติ แต่เพื่อประโยชน์ของอาจารย์และวิทยาลัยฯ

เกณฑ์ประเมินการปฏิบัติงาน เพื่อพิจารณาความดีความชอบ และการต่อสัญญาจ้าง
1. อาจารย์ผู้สอน โปรแกรมประมวลผล ประเมินโดยฝ่าย 5 ฝ่าย
   วิชาการ = 30 คะแนน
   กิจการนักศึกษา = 20 คะแนน
   บุคลากร = 20 คะแนน
   ที่ปรึกษา = 20 คะแนน
   วัดผล = 10 คะแนน
     รวม = 100 คะแนน
     • โดยผู้รับผิดชอบแต่ละด้านจะเป็นฝ่ายกรอกข้อมูล โปรแกรม MIS จะดำเนินการประมวลผลระดับผลการประเมิน
          95 ขึ้นไป ระดับ ดีเยี่ยม
          80-89 ระดับ ดีมาก
          70-79 ระดับ ดี
          60 – 69 ระดับ พอใช้
          ต่ำกว่า 60 ระดับ ปรับปรุง / ไม่ผ่าน
2. บุคลากรทางการศึกษา / เจ้าหน้าที่ที่ไม่มีคาบสอนประมวลผลจากการกรอกข้อมูล
   ภาระงาน ( ฝ่ายทรัพยากร) = 40 คะแนน
   กิจการนักศึกษา = 30 คะแนน
   บุคลากร = 30 คะแนน
     รวม = 100 คะแนน
     • โดยผู้รับผิดชอบแต่ละด้านจะเป็นฝ่ายกรอกข้อมูล โปรแกรม MIS จะดำเนินการประมวลผลระดับการผลประเมิน
        95 ขึ้นไป ระดับ ดีเยี่ยม
        80-89 ระดับ ดีมาก
        70-79 ระดับ ดี
        60 – 69 ระดับ พอใช้
        ต่ำกว่า 60 ระดับ ปรับปรุง / ไม่ผ่าน
กระบวนการพัฒนาบุคลากรด้วยระบบ TRAIN

เรื่องพิจารณาเพื่อเสนอให้มีการรับ การ TRAIN
   - การสอน - การทำแผน+ ใบความรู้ - การควบคุมชั้นเรียน - การพูดจาสื่อสารกับนักเรียน
   - การรับผิดชอบการเข้าสอน - การออกข้อสอบ - การทดสอบผู้เรียน - การทำงานเป็นทีม ฯลฯ
     * หัวหน้าหมวดวิชาอาจไม่ส่งรายชื่อผู้ต้องรับการ Train ก็ได้หากมีความเห็นว่า ภายในหมวดได้มีการพัฒนางานจนเป็นที่น่าพอใจ(สอดคล้องกับความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ ฝ่ายวิชาการ) แต่ต้องมีการบันทึกการพัฒนาติดตามงานเป็นระยะอย่างน้อย 2 – 3 ครั้งหากอาจารย์นิเทศ / กรรมการพัฒนาการศึกษาพบเห็นข้อบกพร่องและมีความเห็นว่าต้องให้รับการ Train และไม่มีบันทึกการพัฒนาติดตามงานของหัวหน้าหมวด หัวหน้าหมวดต้องเป็นผู้รับผิดชอบกรณีดังกล่าว
     * อาจารย์ที่หัวหน้าหมวดวิชาส่งรายชื่อเข้ารับการ Train ต้องถูกบันทึกพัฒนาติดตามงานก่อนอย่างน้อย 4 ครั้ง

การดำเนินการของงานบุคลากรหลังจากการส่งรายชื่อของหัวหน้าหมวดวิชา

     งานบุคลากรจะทำหน้าที่ Train ครูที่พัฒนาน้อย / ไม่พัฒนา โดยอาจตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเอกสาร / สัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมว่าครูดังกล่าว พัฒนาน้อยหรือไม่ พัฒนาตามที่หัวหน้ารายงาน
     ครูที่งานบุคลากร Train ให้ ต้องพยายามปรับปรุงตนเองภายใน 1 เดือน เมื่อครบกำหนดฝ่ายบุคลากรจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะบรรจุ หรือพิจารณาเลิกจ้าง ซึ่งฝ่ายบุคลากรจะตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเอกสาร / สัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง เพื่อยืนยันข้อมูล

ระเบียบการใช้รถ - คืนรถวิทยาลัยฯ
ของพนักงานขับรถ

     - เช้า เบิกกุญแจและน้ำมันที่ อ.แขก(อรวรรณ) เวลา 8.00 น. - 8.30 น.
     - เย็น นำรถเข้าจอดในจุดที่กำหนดให้ และส่งคืนกุญแจที่ อ.แขก(อรวรรณ) เวลา 16.00 น.
หมายเหตุ
     - กรณีรถกลับถึงวิลัยหลัง 16.00 น. ให้นำรถเข้าจอดในจุดจอด และนำกุญแจฝากยามไว้
     - กรณีมีความจำเป็นใช้รถก่อนเวลาทำงานปกติ ให้แจ้ง อ.แขก(อรวรรณ) ล่วงหน้าก่อนเวลา 15.00 น. พร้อมเบิกค่าน้ำมัน และเบิกกุญแจรถได้ที่ยาม