ข้อมูลสถานศึกษา
ข้อมูลนักเรียนนักศึกษา
ข้อมูลตลาดแรงงาน
ข้อมูลบุคลากร
แผนปฏิบัติการงบประมาณ
ข้อมูลหลักสูตรแผนการเรียน
ข้อมูลครุภัณฑ์
ข้อมูลอาคารสถานที่
ข้อมูลจังหวัดนครราชสีมา

 
 ประวัติความเป็นมา
          จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งในอาณาจักรไทย แต่เดิมตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองปัจจุบัน ประมาณ 31 กิโลเมตร เรียกว่า 'เมืองโคราฆะปุระ' หรือ โคราช กับ เมืองเสมา ซึ่งทั้งสองเมืองเคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยขอม แต่ปัจจุบันเป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ริมลำตะคอง
          สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) โปรดให้สร้างเมืองโดยเอาชื่อเมืองเสมากับเมืองโคราฆะปุระ มาผูกเป็นนามเมืองใหม่เรียกว่า 'เมืองนครราชสีมา' แต่คนทั่วไปเรียกว่า 'เมืองโคราช'
          สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็ฯเมืองชั้นเอก ผู้สำเร็จราชการเมืองมียศเป็นเจ้าพระยา เจ้าพระยานครราชสีมาคนแรกชื่อ ปิ่น ณ ราชสีมา และในรัชกาลนี้เมืองนครราชสีมาได้นำช้างเผือก 2 เชือก ขึ้นน้อมเกล้าถวาย ต่อมาในปี พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทร์ก่อการกบฏ ยกกองทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกวดต้อนพลเมืองไปเป็นเชลยคุณหญิงโม (ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา : พระสุริยเดชวิเศษ ฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมือง แสร้งทำกลัวเกรงและปรจบเอาใจทหารลาว เมื่อถูกกวาดต้อนมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ในเขตอำเภอพิมายก็หยุดพักกลางทางพอได้ โอกาสคุณหญิงโมก็จัดกองทัพโจมตีกองทัพเวียงจันทร์แตกพ่ายไป วีรกรรมที่คุณหญิงโมได้ประกอบขึ้นนี้รัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น 'ท้าวสุรนารี' ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูงให้นครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑลลาวกลาง ในปี พ.ศ.2434 (ร.ศ.110)
 คำขวัญประจำจังหวัด
          'เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน'
 วิสัยทัศน์
          'โคราช เมืองหลวงแห่งภาคอีสาน'
 พันธกิจ
          1. บูรณาการ พัฒนาเมือง ชุมชนและชนบทให้บรรลุตามเกณฑ์เมืองน่าอยู่ขององค์การอนามัยโลก
          2. ขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมคุณภาพ สังคมที่เอื้ออาทรและสังคมสมานฉันท์
          3. สนับสนุนการผลักดันให้เกิดโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงในภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน
          4. สนับสนุนและส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนเพื่อระบบเศรษฐกิจสีเขียว
          5. สร้างกระบวนการผลิต แปรรูปสินค้าการเกษตรและอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มผลิตภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
          6. เสริมสร้างภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ การศึกษา และวัฒนธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
          7. บูรณาการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีดุลยภาพที่ยั่งยืน
          8. ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารงานภาครัฐตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมองที่ดีหรือธรรมาภิบาล
 เป้าประสงค์
          1. พัฒนาจังหวัดนครราชสีมาเป็นเมืองรองรับความเจริญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมุ่งสู่เมืองที่น่าอยู่
          2. พัฒนาสังคมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน
          3. พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่ง พลังงานสะอาด และศูนย์กระจายสินค้ารองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
          4. พัฒนาสินค้าเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัยมุ่งสู่ครัวโลก
          5. เสริมสร้างอุตสาหกรรมสะอาดและการท่องเที่ยวสีเขียว
 ประเด็นยุทธศาสตร์  (ตามลำดับความสำคัญ)
          1. พัฒนาปัจจัยแวดล้อมทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการเกษตรและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาไปสู่ครัวของโลก และฐานการผลิตพลังงานสะอาด
          2. พัฒนาระบบโลจิสติกส์และการค้าเพื่อเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสานและรองรับประชาคมอาเศรษฐกิจอาเซียน
          3. พัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างและกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนในพื้นที่
          4. พัฒนาสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงและยั่งยืนเพื่อสู่การเป็นเมืองน่าอยู่
          5. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
          6. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยและความมั่นคงของบ้านเมือง
 
ข้อมูลจังหวัดนครราชสีมา 
ที่มา : สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา 
เผยแพร่โดย : งานศูนย์ข้อมูลสารเทศ 
 เข้าสู่เว็บไซต์จังหวัดนครราชสีมา
            ข้อมูลจังหวัดสนับสนุนการตรวจราชการ