ใส่ข้อความที่ต้องการค้นหา 
ตัวช่วยในการค้นหา : ข้อมูลทั่วไป แผนที่ หลักสูตรที่เปิดสอน ทะเบียน การเงิน กองทุน กองทุนอื่นๆ วินัยและความประพฤติ กิจกรรม ศูนย์ให้คำปรึกษา สวัสดิการนักศึกษา ฝึกงาน วัดผลและประเมินผล ห้องสมุด เรียนซ่อมเสริมและปรับระดับคะแนน  ทุจริตในการสอบ มาไม่ทันเข้าสอบ ตรวจสอบผลการเรียน ขาดสอบ แก้ 0,มส เกณฑ์การสอบผ่านขึ้นชั้นปี หลักเกณฑ์การตัดคะแนนความประพฤติ การส่งจดหมายแจ้งการขาดเรียน การแต่งกาย ระเบียบการออกฝึกงาน  

ความรู้เกี่ยวกับวิทยาลัย

ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
1. ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา
2. ที่ตั้ง : เลขที่ 77/1 หมู่ 4 ถนนมิตรภาพ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
3. เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 0-4446-5168-9 แฟกซ์. 0-4446-5165 ต่อ 207
   Website: http://www.c-tech.ac.th E-mail: ctechkorat@gmail.com

4. ประวัติและสภาพทั่วไป
     “ชนะพลขันธ์” มาจากนามพระราชทานของ ขุนชนะพลขันธ์ (เพิ่ม แจ่มจันทร์) ท่านเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด มี พี่น้องร่วมบิดา มารดา รวม 3 คน ทุกคนรับราชการในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกก็ได้ย้าย เข้ามารับราชการในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงในระยะต่อมา สำหรับท่านขุน-
ชนะพลขันธ์ (เพิ่ม แจ่มจันทร์) ได้รับราชการเป็นช่างศิลป์ประจำพระราชวังหลวง และได้ลาออกจากราชการปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์

     คณะผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า นามชนะพลขันธ์ เหมาะสมที่จะ ใช้เป็นชื่อสถาบันแห่งใหม่ เนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้
     1. เป็นชื่อที่มีความหมายอันเป็นสิริมงคลด้วยเป็นนามพระราชทาน และมีความหมายอันเป็นมงคล ดังต่อไปนี้
          ชนะ คือ ความเป็นที่หนึ่งมีชัยชนะ
          พลขันธ์ คือ ชนทุกหมู่เหล่า
     ดังนั้น ชนะพลขันธ์ หมายถึงชนะใจชนทุกหมู่เหล่า สถาบันแห่งนี้จึงเป็นสถาบันแห่งความเชื่อถือ ของมวลชน
     2. ท่านเป็นช่างศิลป์แห่งราชสำนักรัตนโกสินทร์ ผลงานที่ท่านเคยทำคือ จิตรกรรมบนฝาผนังในพระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพ และพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม จึงเหมาะสมที่จะนำมาตั้งวิทยาลัย ช่างอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม
     3. ท่านเป็นผู้มีลักษณะนิสัยโอบอ้อมอารีมักน้อย เป็นผู้รอบรู้ รักเรียน แสวงหาความรู้อยู่เสมอแม้ว่า ท่านจะลาออกจากราชการแล้วท่านก็ได้รับเด็ก ๆ ชาวบ้านมาสอนหนังสือ รวมทั้งบุตรทั้งสามของท่านด้วยซึ่งสามารถอ่านออกเขียนได้ โดยเฉพาะ นางเก็บ แจ่มจันทร์ (ตันศิริ) มารดาของผู้รับใบอนุญาตสามารถอ่านออกเขียนได้และหมั่นศึกษาวรรณคดีต่างๆ ยามว่างแม้จะมีอายุมากแล้ว ท่านก็สามารถจดจำกลอนในวรรณคดีมาสั่งสอนลูกหลานได้เสมอ
     C-TECH ย่อมาจาก CHANAPOLLAKHAN TECHNOLOGICAL OF COLLEGE
     1. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2535
     2. มีพื้นที่ทั้งหมด 39.5 ไร่ อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เพียง 9.5 กิโลเมตร ถนนมิตรภาพอยู่ด้านหน้า มีทางรถไฟด้านหลังสะดวกในการคมนาคมมาก มีรถหลายประเภทผ่านตลอดเวลา
     วิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา เป็นสถาบันการศึกษาที่ทันสมัย มีบริเวณกว้างขวาง ร่มรื่น ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สนามฟุตบอลเขียวขจีตลอดปี มีอาคารเรียนที่ทันสมัย ดังนี้
     1. อาคารเรืองวิชา เป็นอาคารขนาดใหญ่ 6 ชั้น มีจำนวน 100 ห้องเรียน พร้อมลิฟท์ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ รวมพื้นที่ใช้สอย 9,000 ตารางเมตร
     2. อาคารเก็บกาญจนา เป็นอาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้จัดกิจกรรมในวาระต่าง ๆ เป็นหอประชุม สนามกีฬาในร่ม รวมพื้นที่ใช้สอย 3,000 ตารางเมตร
     3. อาคารปกครอง เป็นอาคารปฏิบัติงานของงานวินัยและความประพฤติพบปะผู้ปกครอง มีหน่วยงานตรวจสารเสพติดของวิทยาลัยในโครงการวิทยาลัยสีขาว
     4. กลุ่มอาคารฝึกทักษะ ประกอบด้วยอาคารฝึกงาน ของสายช่างอุตสาหกรรม ได้แก่
          - อาคารฝึกงานช่างพื้นฐาน จำนวน 1 หลัง
          - อาคารฝึกงานช่างยนต์ จำนวน 1 หลัง
          - อาคารฝึกงานช่างไฟฟ้า จำนวน 1 หลัง
          - อาคารฝึกงานช่างก่อสร้าง จำนวน 1 หลัง
     5. บ้านพักคนงาน นักการ
     6. C-TECH SHOP

ความก้าวหน้าต่าง ๆ ของวิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา ครบรอบ 20 ปี
     1.การจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ โดยการประเมินรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับดี จาก สมศ. หมายถึง มีคุณภาพด้านการบริหารจัดการ ความพร้อมทางด้านสื่อการเรียนการสอน มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 400 เครื่อง ผลงานทางด้านวิชาการเป็นที่ประจักษ์ คือ ผลการแข่งขันทักษะ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เหรียญ ทองมากที่สุด เป็นอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2543-2544 ต่อเนื่อง 2 ปี ติดต่อกัน
     2. วิทยาลัยได้รับรางวัลเมืองคุณย่าน่าอยู่ปี พ.ศ. 2542
     3. ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่นระดับภาคปี พ.ศ. 2543
     4. เน้นการสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าสู่ธุรกิจระดับนานาชาติ นั่นคือ เน้นภาษาอังกฤษ และ คอมพิวเตอร์ มีศูนย์ภาษาสอนโดยชาวต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น
     5. มีสาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาลเปิดสอนเป็นแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนมีโอกาสได้รับความรู้ที่กว้างขวางและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว
     6. มีคอมพิวเตอร์จำนวน 400 เครื่อง ห้องปฏิบัติการทางภาษา
     7. เป็นวิทยาลัยเอกชนอาชีวศึกษาแห่งเดียวที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการวิทยาลัยชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา
     8. ฝ่ายวินัยและความประพฤติ ร่วมโครงการวิทยาลัยสีขาวเฝ้าระวังดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด เป็น ศูนย์ตรวจสารเสพติด โดยใช้งบประมาณพิเศษของวิทยาลัยในการจัดซื้อน้ำยาและเชิญบุคลากรมาเป็นวิทยากร
     9.มีสวัสดิการให้นักศึกษาครบวงจร
          - มีการประกันอุบัติเหตุให้นักศึกษาทุกคน มีทุนกู้ยืมของรัฐบาล,ทุนเรียนฟรี ตามประราชบัญญัติ
     10. ห้องเรียนติดเครื่องปรับอากาศทุกห้อง
     11. คณาจารย์ล้วนแต่มีประสบการณ์และมีคุณวุฒิสูงทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาตรี
     12. นักศึกษารุ่นพี่ ทุกคนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่รุ่นน้องคุณลักษณะดังกล่าวจะถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมองค์กร

สัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย
ปรัชญา : ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม
อัตลักษณ์ : ทักษะดี มีงานทำ
เอกลักษณ์ : สร้างคน ตรงงาน
อัตลักษณ์คุณธรรม : รับผิดชอบ มีวินัย ใจอาสา
ความหมายของรวงผึ้ง
     ขยันขันแข็ง รู้แบ่งหน้าที่ ความประณีตในการทำงาน ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความรู้ เป็นพิษสง ความประหยัด มธัยสัถ์
ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
     ต้นชัยพฤกษ์ - ต้นไม้แห่งชัยชนะ สอดคล้องกับนามของวิทยาลัย คือ “ชนะพลขันธ์”
ประจำวิทยาลัย : แสด-น้ำเงิน
     - สีแสด หมายถึง ความรุ่งโรจน์ดุจแสงอาทิตย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวง
     - สีน้ำเงิน หมายถึง ความแน่วแน่ ความหนักแน่น สุขุม
วิสัยทัศน์ ( Vision ) C-TECH พ.ศ. 2560 - 2564
     วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา เป็นสถาบันอาชีวศึกษาชั้นนำด้านการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
พันธกิจ ( Missions ) C-TECH พ.ศ. 2560 – 2564
     1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานกำลังคนสู่สายอาชีพ
     2. ขยายโอกาสทางการศึกษาสายอาชีพให้ทั่วถึง ต่อเนื่อง เสมอภาค และเป็นธรรม
     3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ
     4. วิจัย สร้างนวัตกรรม จัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
     5. ส่งเสริม/พัฒนา ครูและบุคลากรอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ มั่นคง และก้าวหน้าในวิชาชีพ
กลยุทธ์ ( Strategy )
กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มปริมาณผู้เรียนสาอาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดอาชีวศึกษา
กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธืภาพบริหารจัดการให้มีมาตรฐานและคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษาให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
     เป้าประสงค์ที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมของผู้เรียน
     เป้าประสงค์ที่ 2 มีความรับผิดชอบ เน้นการสร้างวินัยในการเรียน
     เป้าประสงค์ที่ 3 ทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ
     เป้าประสงค์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกิจกรรมองค์การวิชาชีพ การบริการสังคม จีตสาธารณะ กีฬาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
     เป้าประสงค์ที่ 5 ICT เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มปริมาณผู้เรียนสาอาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
     เป้าประสงค์ที่ 1 ขยายโอกาสด้านการศึกษาด้านอาชีวะศึกษาในการพัฒนาประเทศ
     เป้าประสงค์ที่ 2 อาชีวะศึกษาสร้างคน สร้างงาน สร้างรายได้
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดอาชีวศึกษา
     เป้าประสงค์ที่ 1 การเรียนการสอนสู่การบริการวิชาการ วิชาชีพสู่สังคม
     เป้าประสงค์ที่ 2 การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน
กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธืภาพบริหารจัดการให้มีมาตรฐานและคุณภาพ
     เป้าประสงค์ที่ 1 พัฒนาครู สร้างเครือข่าย Social Media และสร้าง Network
     เป้าประสงค์ที่ 2 พัฒนาระบบประกันคุณภาพใหเป็นมาตรฐาน
     เป้าประสงค์ที่ 3 วิจัย สร้างนวัตกรรม จัดการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ และพัฒนาชีวิตของประชาชน

เว็บไซต์ http://www.c-tech.ac.th
     เว็บไซต์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการทางด้าน ข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับวิทยาลัยซึ่งแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
     1. นำเสนอกิจกรรมในวาระต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเสมอ
     2. ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา
        - ประวัติความเป็นมาของวิทยาลัย
        - หน่วยงานภายในวิทยาลัย
        - คณาจารย์ในวิทยาลัย
        - รวมภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา
     3. E-learning เป็นการให้ความรู้ทางด้านวิชาการแก่นักศึกษา
     4. ระบบสารสนเทศนักศึกษา
     5. ระบบบริหารการศึกษา
     6. ข้อมูลนักศึกษา C-TECH PLUS

แผนที่วิทยาลัย (MAP)

การจัดการเรียนรู้และหลักสูตรที่เปิดสอน

วิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา เปิดสอนหลักสูตรใน 2 ระดับ คือ
     1. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. )
          พณิชยกรรม
     สาขาบัญชี
     สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
     สาขาวิชาการโรงแรม
          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ช่างอุตสาหกรรม
     สาขาวิชายานยนต์
     สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
     สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์(เฉพาะภาคบ่าย)
     สาขาวิชาช่างก่อสร้าง(เฉพาะภาคบ่าย)
     2. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. )
          บริหารธุรกิจ
     สาขาวิชาบัญชี
     สาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาล
     สาขาวิชาการโรงแรม
     สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
     สาขาวิชาการตลาด(เฉพาะภาคบ่าย)
     สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ(เฉพาะภาคบ่าย)
          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ช่างอุตสาหกรรม
     สาขาวิชาเครื่องกล
     สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
     สาขาวิชาช่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
     สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์(เฉพาะภาคบ่าย)
     สาขาวิชาช่างก่อสร้าง(เฉพาะภาคบ่าย)

ฝ่ายบริหารทรัพยากร

อาจารย์สุมาลี แก้วกันเนตร์
(รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร)


งานทะเบียน
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์ณภาภัช ภูริภรพัฒน์
สถานที่ติดต่อ ชั้น 2 อาคารเรืองวิชา ห้องทะเบียน

     งานทะเบียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการออกเลขประจำตัวนักศึกษาใหม่ จัดเก็บหลักฐานทางการศึกษา จัดห้องเรียน ลงทะเบียนนักศึกษาในระบบของวิทยาลัย จัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.1) จัดทำรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (รบ.2) จัดทำใบประกาศณียบัตรสำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา จัดทำใบสอบมาตรฐานวิชาชีพ จัดทำระเบียนแสดงผลการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ (Transcript) จัดทำใบรับรองการเป็นนักศึกษา จัดทำเอกสารขอเบิกค่าใช้จ่ายรายหัวของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (เงินอุดหนุน) และจัดทำสถิติการมาเรียน ขาดเรียน ของนักศึกษาทั้งหมด

งานการเงิน
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์สุมาลี แก้วกันเนตร์
สถานที่ติดต่อ ชั้น2 อาคารเรืองวิชา ห้องการเงิน

     ค่าธรรมเนียมการเรียน การลงทะเบียนเรียน
     1. นักเรียน-นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนภายในเวลาที่วิทยาลัยกำหนด ถ้าลงทะเบียนช้ากว่ากำหนดจะต้องเสียค่าปรับวัน ละ 20 บาท แต่ไม่เกิน 200 บาท
     2. ถ้านักเรียน-นักศึกษา มีเหตุขัดข้องเรื่องการเงินต้องยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การชำระเงิน ที่ฝ่ายการเงินและ ต้องชำระครึ่งหนึ่งก่อนสอบกลางภาคและชำระส่วนที่เหลือก่อนวันสอบปลายภาค
     การชำระเงินค่าลงทะเบียน สามารถชำระได้ 2 วิธี คือ
        1. ชำระโดยตรงที่วิทยาลัย
        2. ชำระผ่านทางบัญชีธนาคารของวิทยาลัย
     ขั้นตอนการชำระเงิน
     1. ชำระเงินที่วิทยาลัย
        - รับแบบฟอร์มการลงทะเบียนที่ฝ่ายการเงิน
        - กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย
        - ชำระเงินและรับใบเสร็จ (เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน)
     2. โอนเงินเข้าบัญชีวิทยาลัย
        ชื่อบัญชี โรงเรียนเทคโนโลยชีนะพลขันธ์
        ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามแยกปักธงชัย เลขที่ 374-1-055883
        แล้วนำใบนำฝาก มารับใบเสร็จที่ฝ่ายการเงิน

งานกองทุน
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์ปทิดา ดิษผักแว่น
สถานที่ติดต่อ ชั้น 2 อาคารเรืองวิชา 022 B

     เรียนก่อน - ผ่อนทีหลัง กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นหน่วยงานในกำกับกระทรวงการคลัง ได้เริ่มดำเนินการให้ กู้ยืมแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2539 เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา แบ่งเบาภาระด้านการเงิน ของผู้ปกครอง และเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติโดยรวม โดยมุ่งหวังว่าผู้กู้ยืมเงินกองทุนฯ จะ สามารถเล่าเรียนได้สำเร็จตามหลักสูตร มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยมีจิตสำนึกในการชำระ เงินคืนกองทุนฯ หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เพื่อนำมาเป็นทุนหมุนเวียนให้รุ่นน้องได้มีโอกาสกู้ยืมเรียน ต่อไป
     แนวทางการปฏิบัติในการดำเนินงานกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) สำหรับผู้กู้รายใหม่
     การพิจารณาคุณสมบัติของผู้กู้ยืม ทั้งผู้กู้รายเก่า - ผู้กู้รายใหม่
        1. รายได้ครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
        2. ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงเป็นผู้มีผลการเรียนดี ความประพฤติดี และเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ต่อสังคมหรือสาธารณะ
        3. เป็นผู้ที่เข้าศึกษาในระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ) ระดับอาชีวศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา
     4. ดำเนินการกู้ยืมตามขั้นตอนการกู้ยืมผ่านระบบ E-Student loan ตามประกาศในเว็บไซต์ของกองทุนอย่างเคร่งครัด

งานอาคารสถานที่
อาจารย์ที่รับผิดชอบ นายอนุวัฒน์ คำแก้ว

     ทางอาคารสถานที่ มีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้
     1.งานทางด้านการก่อสร้าง-สถาปัตยกรรม มีหน้าที่ ออกแบบและควบคุมดูแลงานก่อสร้าง
     2.งานระบบไฟฟ้า มีหน้าที่ วางแผนระบบไฟฟ้า บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าภายในวิทยาลัย
     3.งานระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ ควบคุมดูแลระบบเครื่องเสียง และระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน วิทยาลัย
     4.งานศิลป์ มีหน้าที่ ดูแลงานศิลป์ทั้งหมด ภายในวิทยาลัย
     5.งานบริการ มีหน้าที่ ดูแลโรงอาหาร C-TECH SHOP และร้านค้าต่าง ๆ ทั้งนี้นักเรียนศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิศวกรรมและบริการ โดยติดต่อทางฝ่ายได้ โดยเขียนแสดงความคิดเห็นและนำใส่ที่กล่องหน้าห้องอำนวยการ

ฝ่ายพัฒนากิจกรรมนักศึกษา

อาจารย์กัญญาณี เชื้อน้อย
(รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)


งานวินัยและความประพฤติ
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์กัญญาณี เชื้อน้อย
สถานที่ติดต่อ อาคารปกครอง

     มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลส่งเสริมให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาและในด้านความประพฤติ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนระเบียบวินัยในขณะที่ศึกษาอยู่ในสถานศึกษา เพื่อที่จะนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น งานวินัยนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษามีดังนี้
     1. การมาวิทยาลัย
     2. การขออนุญาตออกนอกบริเวณวิทยาลัย
     3. การขาดเรียน
     4. การมีพฤติกรรมในด้านชู้สาว
     5. การก่อเหตุทะเลาะวิวาท (ทั้งในและนอกสถานที่)
     6. การประพฤติตัวไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ
     7. การกระทำที่สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับวิทยาลัย
     8. การแจ้งของหาย
     9. การเยี่ยมหรือมีผู้ปกครองมาพบนักเรียน นักศึกษาในขณะเรียน
     10. การแสดงความเคารพ
     11. ระเบียบการแต่งกายชุดนักศึกษา
     12. การตรวจสารเสพติด เพื่อประโยชน์นักเรียน นักศึกษา ควรจะศึกษา ระเบียบปฏิบัติของงานวินัยนักศึกษา ในส่วนที่ 4 ของคู่มือนักศึกษาเล่มนี้ด้วย

งานกิจกรรมนักศึกษา
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์กรกริช ธัญญานนท์
สถานที่ติดต่อ ห้องพักครู ชั้น 4 ห้อง 041C

     กิจกรรมนักศึกษามีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกิจกรรมทั้งในและนอกสถานศึกษาที่นอกเหนือจาก การเรียนในเวลาปกติ เพื่อให้นักเรียน-นักศึกษา มีความพร้อมเพรียงทางด้านอารมณ์ ทางด้านสังคม และสติปัญญา ควบคู่กับการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งพ.ศ. 2542 และเป็นไปตามโยบายของทางวิทยาลัย
     งานของกิจกรรมนักศึกษา
     1.งานกิจกรรมชมรม
        นักเรียน-นักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา ทุกคนจะต้องมีชมรมสังกัด การเข้าชมรมจะถือเป็นคาบเรียนปกติ ซึ่งจะต้องมีเวลาในการเข้าชมรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาเข้ากิจกรรมทั้งหมด ถึงจะถือว่าจบหลักสูตรโดย อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมจะทำการเช็คชื่อนักเรียน-นักศึกษาทุกคนในการเข้ากิจกรรมชมรมแต่ละสัปดาห์
        1.ชมรมลูกเสือ
        2.งานองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.)
        3.ชมรมนักศึกษาวิชาทหาร
     2.งานกิจกรรมตามวาระ
        นักเรียน-นักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา ต้องเข้าร่วมกิจกรรมตามวาระ ต่าง ๆ ที่วิทยาลัยจัดขึ้น และกิจกรรมที่จัดขึ้นร่วมกับหน่วยงานภายนอก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม เสริมหลักสูตร และมีผลต่อการผ่าน/ไม่ผ่านกิจกรรมในภาคเรียนนั้น ๆ
        การไม่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งใดครั้งหนึ่ง จะต้องทำกิจกรรมซ่อมเสริมเพื่อให้ได้คะแนนการผ่าน กิจกรรมนั้น ๆ โดยกิจกรรมซ่อมเสริมต้องเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และไม่ขัดต่อระเบียบ ของวิทยาลัย
        ลักษณะของกิจกรรมตามวาระ
        1. กิจกรรมที่วิทยาลัยจัดขึ้นภายในวิทยาลัย เช่น กิจกรรมชมรม กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมสำคัญทางศาสนา กิจกรรมสำคัญของชาติ (วันเฉลิมพระชนพรรษา) กิจกรรมเฉาะกิจของทางวิทยาลัยกำหนดขึ้น
        2. กิจกรรมที่จัดขึ้นหรือได้รับการขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก กิจกรรมวันสำคัญของชาติ กิจกรรมปลูกป่า กิจกรรมกีฬา กิจกรรมการกุศล ฯลฯ
     3.งานกิจกรรมกีฬา
        วิยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ ได้มีการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เล่นกีฬานอกเวลาเรียน เพื่อความเป็นผู้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ในทุกประเภทกีฬา ซึ่งในทุกปีการศึกษา ได้มีการจัดแข่งขันกีฬาสีภายใน กีฬาต้านยาเสพติด เล่นกีฬานอกเวลาเรียน โดยสามารถยืมอุปกรณ์กีฬาได้ที่หมวด พลานามัย อาคารเก็บกาญจนา ได้หลังเลิกเรียน
     4.งานคณะกิจกรรมนักศึกษา
        ทางงานกิจกรรมนักศึกษามุ่งเน้นให้คณะกรรมการนักศึกษามีบทบาทในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่วิทยาลัย ได้จัดขึ้น และมีบทบาทในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนรวมทั้งบริการข่าวสารให้กับชุมชนทั้งทางตรงและ ทางอ้อม

ศูนย์ให้คำปรึกษาติดตามและช่วยเหลือนักศึกษา
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์อุบลรัตน์ พิมพ์ใหม่
สถานที่ติดต่อ ห้องศูนย์ให้คำปรึกษา 032A

     แนะแนวและบริการให้คำปรึกษา เป็นงานบริการที่จัดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือนักศึกษา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีหลักการทำงานดังนี้
        1. ดำเนินการให้คำปรึกษา แนะแนวแก่นักศึกษาที่มีปัญหาข้อข้องใจทั้งทางด้านสังคม และส่วนตัว
        2. ให้คำแนะนำ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาฝึกงานและผู้สำเร็จการศึกษาให้สามารถ ดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
     การบริการของศูนย์ให้คำปรึกษาติดตามและช่วยเหลือนักศึกษา
        ตั้งอยู่ที่อาคารเรืองวิชา ชั้น 3 ห้อง 035C คณะอาจารย์ทุกคนมีหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือนักศึกษา ในปัญหาทุกด้าน นักศึกษาผู้ใดมีปัญหาส่วนตัวปัญหาการศึกษา ปัญหาการเงิน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาปรับตัว ปัญหาทางบุคลิกภาพ หรือปัญหาอื่นใดก็ตาม สามารถไปขอรับบริการจากอาจารย์แนะแนวได้ ซึ่งอาจารย์ แนะแนวทุกคนมีจรรยาบรรณที่จะรักษาความลับของนักศึกษาไว้โดยเคร่งครัด นักศึกษาจึงไว้วางใจได้ บริการแนะแนวที่สำคัญ ๆ คือ
        1. ให้คำปรึกษาต่าง ๆ เป็นส่วนตัวกับนักศึกษา
        2. บริการจัดหางานให้นักศึกษา เพื่อหารายได้พิเศษระหว่างเรียน
        3. พิจารณาและจัดสรรทุนการศึกษาแก่นักเรียน-นักศึกษา
     บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service)
        ศูนย์ให้คำปรึกษาติดตามและช่วยเหลือนักศึกษา จัดให้คำปรึกษากับนักศึกษาและผู้ปกครอง นักศึกษา ทุกปัญหา ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นหมู่คณะ ข้อมูลจะมีการจัดส่วนให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงาน บริการให้คำปรึกษาซึ่งอยู่ที่อาคารเรืองวิชา ชั้น 3 วันและเวลา ที่ให้บริการขอรับคำปรึกษา จะติดไว้ที่หน้าห้อง ซึ่งในช่วงวัน เวลาดังกล่าวจะมีอาจารย์อยู่รับให้คำปรึกษา การจัดหางานให้สำหรับผู้สำเร็จการศึกษา มีการให้บริการดังนี้
        1. ติดประกาศรับสมัครงาน จากหน่วยงานและบริษัทต่าง ๆ
        2. เก็บรวบรวมเอกสารรับสมัครของบริษัทต่าง ๆ ลงทะเบียนที่ฝ่ายแนะแนว โดยแยกประเภท ตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อสะดวกแก่นักศึกษาในการเลือกงานตามความสามารถของตนเอง
        3. ประสานงานกับสถานประกอบการในการรับสมัครงานของผู้สำเร็จการศึกษา โดยผ่านสำนักงาน จัดหางานจังหวัดมารับสมัครงานนักศึกษา ในวันปัจฉิมนิเทศ สำหรับผู้ที่จะจบการศึกษา ซึ่งเอกสารที่จะต้องเตรียมมีรูปถ่าย สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบรับรองผลการศึกษา
        4. ติดตามผลการสมัครงานของนักศึกษา
        5. ติดประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานที่ห้องสำนักงานฯ
     ทุนการศึกษา
        วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา ได้จัดทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่มีความจำเป็นบางส่วน ในแต่ละปีการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 50 ทุน และยังได้รับการ สนับสนุน ส่งเสริมจากหน่วยงานบริษัท และบุคคลภายนอก โดยจัดเป็นทุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ ให้แก่ นักศึกษาเพื่อส่งเสริมให้มีโอกาสศึกษา จนสำเร็จการศึกษา พร้อมแจกเกียรติบัตรเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่เรียนดี ความประพฤติดี โดยแบ่งออกเป็น
        1. ทุนเรียนดี และความประพฤติดี
        2. ทุนเรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์
        3. ทุนอาหารกลางวัน
     เงื่อนไขการขอทุนเรียนดี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
        1. เป็นนักเรียนของวิทยาลัยเทคโนโลยชีนะพลขันธ์ นครราชสีมา
        2. เป็นผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป
        3. ระหว่างที่ได้รับทุน นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
           - มีผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00
           - มีความประพฤติเหมาะสมกับการเป็นนักเรียน
           - วิทยาลัยจะระงับการให้ทุน ถ้าพิจารณานักเรียนขาดคุณสมบัติตาม ข้อ 1-3
     ขั้นตอนการขอรับทุน
        นักศึกษาที่มีความประสงคจ์ะขอรับทุน ขอแบบฟอร์มทุนได้ทที่ศูนย์ให้คำปรึกษาติดตามและช่วยเหลือนักศึกษา โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัคร ขอรับทุนให้ชัดเจนนัดสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล โดยผ่านคณะกรรมการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับทุนประเภทต่าง ๆ ที่ห้องศูนย์ให้คำปรึกษาติดตามและช่วยเหลือ นักศึกษา
     เงื่อนไขการขอรับทุน
        1. ไม่มีภาระผูกพันหรือชดใช้เงินคืน การได้รับทุนประเภทต่าง ๆ จะให้โดยการหักจากค่าเล่าเรียน ในภาคเรียนที่ 2
        2. เป็นการให้ทุนแบบปีต่อปี ผู้ใดต้องการจะขอรับทุนจะต้องยื่นแบบฟอร์มขอทุนในทุกปีการศึกษา

งานสวัสดิการนักศึกษา
        ทางงานกิจกรรมนักศึกษาจัดสวัสดิการส่งเสริมให้นักเรียน-นักศึกษามีรายได้พิเศษนอกเหนือจาก ทุนการศึกษาอื่นๆ ที่ทางวิทยาลยัจัดให้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษามีรายได้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของ ผู้ปกครอง และยังทำให้นักเรียนนักศึกษารู้จักการใช้เงินอย่างมีคุณค่า ซึ่งงานที่ทางวิทยาลัยจัดหาให้นั้น จะเป็นงานที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีของไทย
ฝ่ายวิชาการ

อาจารย์ดุษฎี มั่นกิจ
(รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ)

ศูนย์ประสานการดูแลนักศึกษาฝึกงาน
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์ชฎานิศ ภัทรภู่สุวรรณ
สถานที่ติดต่อ ชั้น 4 อาคารเรืองวิชา ห้อง 046B

     งานนิเทศนักศึกษาฝึกงาน มีหน้าที่รับผิดชอบการออกฝึกงานของนักศึกษาทุกสาขาวิชา และประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อทราบความต้องการของสถานประกอบการ และจัดส่งนักศึกษาให้ตรงกับความต้องการ รายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกงานให้นักศึกษา ศึกษาระเบียบวิทยาลัย ว่าด้วยเรื่อง การออกฝึกงานของนักศึกษา ได้ในคู่มือ (ส่วนที่ 4)

งานวัดผลและประเมินผลการศึกษา
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์สุขธิดา หงิมเพ็ง
สถานที่ติดต่อ ชั้น 2 อาคารเรืองวิชา ห้องวัดและประเมินผล

     งานวัดผลมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียนของนักเรียน นักศึกษา ทุกคนภาคเรียน ซึ่งได้เก็บรวบรวมผลการเรียนของนักเรียนนักศึกษาตลอดเวลาที่ศึกษาอยู่ประสานงาน กับอาจารย์ที่ปรึกษาในรายงานผลการเรียนในสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน การแจ้งผลการเรียนทาง ไปรษณีย์ (ช่วงสิ้นภาคการศึกษา) การจัดการเรื่องข้อสอบ ธนาคารข้อสอบ จัดตารางสอบ กรรมการ ดูแลห้องสอบและกรรมการกลาง หน่วยงานทางด้านวิชาการ นักเรียน นักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องผลการเรียน นอกจากจะสามารถติดต่อกับงานทะเบียนแล้วยัง สามารถขอคำปรึกษาจากฝ่ายวัดผลประเมินผล โดยเฉพาะระเบียนการต่าง ๆ เกี่ยวกับผลการเรียน หากมีข้อสงสัยให้ศึกษาระเบียนว่าด้วยงานวิชาการของโรงเรียน ใน ส่วนที่ 4 ข้อแนะนำสำหรับนักเรียน นักศึกษาทุกคน คือ ควรศึกษาระเบียบว่าด้วยงานวิชาการให้เข้าใจ ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหา จะได้รู้วิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที

ข้อปฏิบัติในการเรียนซ่อมเสริมและปรับระดับคะแนน

วิธีปฏิบัติเมื่อนักเรียน/นักศึกษาทุจริตในการสอบ

ขั้นตอนการติดต่อเมื่อนักเรียน / นักศึกษามาไม่ทันเข้าสอบตามเวลาที่กำหนด

การตรวจสอบผลการเรียน

ขั้นตอนการติดต่อเมื่อนักเรียน/นักศึกษา ขาดสอบ

ขั้นตอนการสอบแก้ 0, มส

     เกณฑ์การสอบผ่านขึ้นชั้นปี
     ระดับ ปวช.
     - ปวช.1 ขึ้นชั้นปี ปวช.2 เกรดเฉลี่ยสะสม 2 ภาคเรียน จะต้องได้ 1.50 ขึ้นไป
     - ปวช.2 ขึ้นชั้นปี ปวช.3 เกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคเรียน จะต้องได้ 1.75 ขึ้นไป
     - ปวช.3 จบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
        1. สอบผ่านทุกรายวิชาที่เรียนมา
        2. สอบผ่านกิจกรรมชมรมทุกภาคเรียน
        3. ผ่านการฝึกงานไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน
        4. ประเมินผ่านมาตรฐานวิชาชีพสาขาวิชา
        5. สอบผ่านโครงการวิชาชีพ
        6. เกรดเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนจะต้องได้ 2.00 ขึ้นไป
        7. ไม่ติดค้างค่าเล่าเรียนกับทางโรงเรียน
        8. ไม่มีหนี้สินหรือพันธะใดๆ กับห้องสมุดของวิทยาลัย
        9. ผ่านการประเมินสมรรถนะทุกรายจุดประสงค์ในสมุดฝึกงานและฝึกประสบการณ์
        10. ผลการตรวจสอบวุฒิจากโรงเรียนเดิมแจ้งว่าจบจริง
     ระดับ ปวส.
     - ปวส.1 ขึ้นชั้นปี ปวส.2 เกรดเฉลี่ยสะสม 2 ภาคเรียน จะต้องได้ 1.75 ขึ้นไป
     - ปวส.2 จบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
        1. สอบผ่านทุกรายวิชาที่เรียนมา
        2. สอบผ่านกิจกรรมชมรมทุกภาคเรียน
        3. ผ่านการฝึกงานไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน
        4. ประเมินผ่านมาตรฐานวิชาชีพสาขาวิชา
        5. เกรดเฉลี่ยสะสม 6 ภาคเรียนจะต้องได้ 2.00 ขึ้นไป
        6. ไม่ติดค้างค่าเล่าเรียนกับทางโรงเรียน
        7. ไม่มีหนี้สินหรือพันธะใดๆ กับห้องสมุดของวิทยาลัย
        8. ผ่านการประเมินสมรรถนะทุกรายจุดประสงค์ในสมุดฝึกงานและฝึกประสบการณ์
        9. ผลการตรวจสอบวุฒิจากโรงเรียนเดิมแจ้งว่าจบจริง

งานห้องสมุด
อาจารย์ที่รับผิดชอบ อาจารย์พัทธ์ธีรา ลิขิตวัฒนพงษ์
สถานที่ติดต่อ ชั้น 2 อาคารเรืองวิชา ห้องสมุด

     ห้องสมุดมีภาระหน้าที่ในการจัดบริการให้กับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์เจ้าหน้าที่ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ ในวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ ซึ่งได้แก่ บริการยืม-คืน หนังสือทุกประเภท รวมทั้งระบบบริการ สารสนเทศสืบค้นข้อมูล (INTERNET) ,โสตทัศนูปกรณ์, วีดีทัศน์ ที่นักเรียน นักศึกษา สามารถค้นคว้าหา ความรู้ใช้ประกอบในการเรียน เพื่อให้นักเรียนนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจน วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ มุมหนังสือใหม่ และหนังสือบันเทิงต่าง ๆ
     1. นโยบายและวัตถุประสงค์
     งานศูนย์วิทยบริการ มีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
        1. เพื่อการศึกษาโดยมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาตามหลักสูตร (Education)
        2. เพื่อความรู้และข่าวสาร (Information)
        3. เพื่อการค้นคว้าและวิจัย (Research)
        4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration)
        5. เพื่อนันทนาการ (Recreation)
     ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักของวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ ประจำปีการศึกษา 2557 ทางด้านวิชาการคือ เพื่อพัฒนาศูนย์วิทยบริการอย่างต่อเนื่อง ให้มีรูปแบบการเข้าถึงสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย
     2. บริการของห้องสมุด
     งานห้องสมุดจัดให้บริการแก่ผู้ใช้ ได้แก่ บริการยืม-คืน บริการวารสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือสำรอง บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการโสตทัศนูปกรณ์และอิเล็กทรอนิกส์ บริการสืบค้น ข้อมูลบรรณานุกรมด้วยคอมพิวเตอร์ บริการอินเตอเน็ต บริการแนะนำหนังสือใหม่ และบริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
     3. เวลาเปิดบริการ
     - เปิดให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
     - เปิดให้บริการในวันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.00 น.
     4. ผู้มีสิทธิ์ในการใช้บริการห้องสมุด
     อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ นักการ บุคลากรที่ทำงานในวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา และบุคคลภายนอกที่สนใจใช้บริการ
     5. การทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
     ทำบัตรสมาชิกห้องสมุด นักศึกษาจะสามารถทำบัตรได้ตั้งแต่เข้าเป็นนักศึกษาใหม่เมื่อนักศึกษา ได้รับบัตรประจำตัวนักศึกษา ซึ่งจะใช้รหัสบาร์โค๊ดในการเข้าใช้บริการทุกประเภทของห้องสมุด
     6. การยืม-ส่งคืน หนังสือ
     1. ครู-อาจารย์ยืมหนังสือได้ครั้งละ 10 เล่ม ต่อ 1 ภาคเรียน
     2. นักเรียน นักศึกษายืมหนังสือได้ครั้งละ 3 เล่ม จำนวน 7 วัน
     3. การยืมและการส่งคืน ต้องใช้บัตรห้องสมุดของตนเองและต้องยืมและส่งคืนด้วยตนเองทุกครั้ง
     4. นักเรียน นักศึกษา ต้องาส่งหนังสือที่ยืมไปคืนห้องสมุดก่อนสอบปลายภาคเรียน 1 สัปดาห์
     5. เมื่อยืมหนังสือจากห้องสมุดแล้ว ควรดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพเดิมหากหนังสือมีการชำรุด เกิดขึ้นผู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามความเหมาะสม
     7. การปรับ
     1. หนังสือทั่วไป ส่งช้ากว่ากำหนด ปรับวันละ 1 บาท ต่อ 1 เล่ม
     2. หนังสือจอง ส่งช้ากว่ากำหนด ปรับวันละ 5 บาท ต่อ 1 เล่ม
     3. ในกรณีที่ผู้ยืมหนังสือหายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทราบทันที และชำระเงินตามราคาหนังสือ (หรือซื้อมาคืน) พร้อมชำระค่าปรับอื่น ๆ
     8. การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
     ห้องสมุดวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา ใช้ระบบจัดหมวดหมู่หนังสือทศนิยม ของดิวอี้ ดังนี้
000 ความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์
600 เทคโนโลยี
700 ศิลปะ
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์
ส่วนที่ 4 ระเบียบของวิทยาลัย

งานวินัยและความประพฤติ
หลักเกณฑ์การตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
     อาศัยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา ในสถานบัน ข้อ ๑๔ วิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา จึงวางหลักเกณฑ์และการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา ดังนี้
     นักเรียน นักศึกษา ทุกคนจะต้องมีคะแนนความประพฤติในภาคเรียนหนึ่งๆ ๑๐๐ คะแนน
     นักเรียน นักศึกษา คนใดถูกตัดคะแนนความประพฤติ
        ตั้งแต่ ๑๐ คะแนน ให้ว่ากล่าวตักเตือน
        ตั้งแต่ ๒๐ คะแนน ส่งหนังสือแจ้งผู้ปกครอง
        ตั้งแต่ ๔๐ คะแนน ส่งหนังสือเชิญผู้ปกครองมาพบ
     นักเรียน นักศึกษา คนใดถูกตัดคะแนนความประพฤติ รวม ๗๐ คะแนน ให้สั่งพักการเรียนภาคเรียนนั้นๆ เป็นเวลา ๓ - ๗ วัน โดยอยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์งานวินัยนักศึกษา (โดยนักเรียน นักศึกษา ต้องมาโรงเรียนตามปกติทุกวันและให้มารายงานที่งานวินัยนักศึกษา )
     ถ้าถูกตัดคะแนนรวมทั้งสิ้น ๑๐๐ คะแนน ต่อ ๑ ภาคเรียน ให้เข้าคณะกรรมการงานวินัยนักศึกษาเพื่อพิจารณาเป็นกรณีต่อไป
     ๑.ความประพฤติผิดที่ต้องลงโทษให้คัดชื่อออกหรือให้ออก
        - ขโมยทรัพย์สินของสถานศึกษาหรือผู้อื่นโดยปรากฏหลักฐานแน่ชัด
        - ทำลายทรัพย์ของสถานศึกษาโดยเจตนาให้เกิดความเสียหาย
        - ซ่องสุมก่อกวนความสงบเรียบร้อย กระทำตนเป็นอันธพาล
        - ประพฤติผิดศีลธรรมร้ายแรง
        - ต้องคดีอาญาและถูกตัดสินลงโทษจำคุก
        - ติดยาเสพติดให้โทษ
        - ค้าประเวณี
        - ขาดเรียนเกิน ๑๕ วัน โดยไม่แจ้งเหตุผลให้สถานศึกษารับทราบโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
        - ฝ่าฝืนกฎระเบียบของสถานศึกษาทำให้ชื่อเสียงของสถานศึกษาเสียหายอย่างร้ายแรง
     ๒.ความประพฤติที่ต้องโทษพักการเรียน ทำทัณฑ์บน หรือตัดคะแนนความประพฤติ
        - ดื่มสุราหรือของมึนเมาหรือติดยาเสพติดให้โทษ
        - เล่นการพนัน
        - มีอาวุธร้ายแรงในครอบครอง
        - ลบหลู่ครู-อาจารย์
        - แอบอ้างเอาชื่อของสถานศึกษาไปดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้รับอนุญาตเกิดความเสียหายกับสถานศึกษา
        - ทำลายทรัพย์สินสาธารณะ
     ๓.อำนาจในการตัดคะแนนความประพฤติและการบันทึก
        - เป็นครู-อาจารย์ในสถานศึกษา มีอำนาจสั่งตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา แต่ละคนที่กระทำผิดได้ไม่เกินครั้งละ ๕ - ๒๐ คะแนน
        - หัวหน้างานวินัยและความประพฤตินักเรียน นักศึกษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หรือผู้อำนวยการ มีอำนาจสั่งตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา แต่ละคนที่กระทำผิดได้ไม่เกินครั้งละ ๕ - ๔๐ คะแนน
        - การตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ ๗๐ คะแนนขึ้นไป ให้อยู่ในการประชุมของคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการดังนี้ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายฯ หัวหน้าแผนก และคณะกรรมการการปกครอง ฯลฯ
     ๔.ข้อปฏิบัติเมื่อมีการพิจารณาตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
        - แจ้งให้นักเรียน นักศึกษา ผู้นั้นทราบ
        - ส่งหนังสือแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาทราบและผู้ปกครองทราบ
        - เก็บหลักฐานการรับทราบของผู้ปกครองไว้
        มาตรการการลงโทษและการตัดคะแนนความประพฤติ
        ๔.๑ มาโรงเรียนสาย
           - มาสาย ๕ ครั้ง แจ้งที่ปรึกษาและผู้ปกครองทราบ
           - มาสาย ๑๐ ครั้ง เชิญที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ ในช่วงภาคเรียนนั้นๆ นักเรียน นักศึกษาจึงจะผ่านกิจกรรมของโรงเรียน
        ๔.๒ การปฏิบัติตัวในวิทยาลัย
           - รบกวนผู้อื่น ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - นำอาหารเข้ามารับประทานในชั้นเรียน ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ไม่ทำคามสะอาดในชั้นเรียน ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ทำร้าย ขีดเขียน หรือ อื่นๆ ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ไม่ทำความเคารพครู อาจารย์ ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ขาดเรียนติดต่อกัน ๗ วัน ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน (แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองทราบ)
           - นำอาวุธที่ผิดกฎหมายมาวิทยาลัย ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - แสดงกิริยาลบหลู่ครู-อาจารย์ ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
        ๔.๓ การเสพสิ่งเสพติด
           - สูบบุหรี่เปิดเผยในวิทยาลัย ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน
           - ดื่มสุราทั้งภายในและภายนอก ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - เล่นการพนันมั่วสุมอบายมุข ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
        ๔.๔ การเที่ยวกลางคืน
           - เที่ยวซ่อง ผู้หญิงค้าประเวณี ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - เที่ยวบาร์ เธค ผับ สถานเริงรมย์ ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
        ๔.๕ การประพฤติตัวไม่เหมาะสม
           - กระทำตนชู้สาว (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - ทำพิธีหมั้นหรือแต่งงานขณะศึกษา (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - ขณะศึกษามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - ปีการศึกษานี้อาจารย์งานวินัยและความประพฤตินักเรียน นักศึกษาจะร่วมกันอาจารย์ปกครองแผนก ออกตรวจตามหอพักและบ้านพักต่างๆ ถ้าพบนักเรียน นักศึกษาอยู่กันเป็นคู่ๆ จะเชิญผู้ปกครองมาพบทั้งสองฝ่าย และเข้าที่คณะกรรมการปกครองของวิทยาลัยพิจารณาอาจให้พ้นสภาพนักเรียน นักศึกษา
        ๔.๖ การหยอกล้อ ลักขโมย เป็นนักเลง
           - หยอกล้อไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - พยายามทำความผิดโดยโต้เถียง ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ก่อความไม่สงบ ทะเลาะวิวาท ตัดคะแนน ๔๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ พักการเรียน)
           - เป็นตัวก่อเหตุความไม่สงบ ตัดคะแนน ๔๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ พิจารณาคัดชื่อออก)
           - ลักขโมยทำลายทรัพย์สิน ตัดคะแนน ๔๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ พิจารณาคัดชื่อออก)
           - ทำตัวเป็นนักเลง อันธพาล ตัดคะแนน ๔๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ พิจารณาคัดชื่อออก)
        ๔.๗ การแต่งการไม่เป็นไปตามระเบียบ
           - แต่งกายไม่เรียบร้อยก่อนเข้าวิทยาลัย ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - ไม่แต่งกายชุดฝึกงานเข้าโรงงาน ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - แต่งกายผิดระเบียบ ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - แต่งกายชุดพละมาวิทยาลัย ตัดคะแนน ๕ คะแนน (เว้นเฉพาะวันพฤหัสบดี หรือวันที่กำหนดให้มีกิจกรรม)
        ๔.๘ การปฏิบัติในวิทยาลัย
           - ออกนอกวิทยาลัยโดยไม่ได้รับอนุญาต ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - หยิบฉวยอุปกรณ์ในห้องเรียนโดยไม่มีใบยืม ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - หนีวิทยาลัย (ปีนรั้ว) ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - เข้าหลังวิทยาลัย (ปีนรั้ว) ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ถือวิสาสะใช้เครื่องจักรโดยพลการ ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน
           - ยั่วยุก่อเหตุทะเลาะวิวาทขณะฝึกงาน ตัดคะแนน ๔๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
           - ทำลายทรัพย์สินของโรงฝึกงาน ตัดคะแนน ๔๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
        ๔.๙ การใช้ยานพาหนะ
           - ไม่สวมกันนิรภัยมาวิทยาลัย ไม่ให้เข้าวิทยาลัย
           - ไม่นำยานพาหนะจอดในที่กำหนดให้ ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - แสดงกิริยาก้าวร้าวต่อ ร.ป.ภ. ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน
           - ขโมยอะไหล่รถผู้อื่น ตัดคะแนน ๒๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ พิจารณาคัดชื่อออก)
        ๔.๑๐ การใช้บัตรประจำตัวนักศึกษา
           - ใช้บัตรประจำตัวนักศึกษาของผู้อื่น ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - ไม่แขวนบัตรนักศึกษา ตัดคะแนน ๕ คะแนน
           - อ้างบัตรประจำตัวของผู้อื่นเมื่อกระทำผิด ตัดคะแนน ๑๐ คะแนน (เชิญอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบ)
        หนังสือแจ้งเชิญผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองส่งคืนที่งานวินัยและความประพฤตินักเรียน นักศึกษา ด้วยบันทึกการตัดคะแนนความประพฤติหรือการลงโทษเป็นหลักฐานโดยครูอาจารย์งานวินัยและความประพฤตินักเรียน นักศึกษารวบรวมไว้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันการกระทำผิดครั้งต่อไปในการตัดสินและติดตามประเมินผลการลงโทษตลอดจน นักเรียน นักศึกษาเรียนจบหลักสูตร
     ๕.ข้อปฏิบัติเมื่อมีการพิจารณาตัดสินตัดคะแนนความประพฤตินักเรียน นักศึกษา
        ๕.๑ แจ้งให้นักเรียน นักศึกษาผู้นั้นทราบ
        ๕.๒ แจ้งการถูกตัดคะแนนความประพฤติและบทลงโทษให้ผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา ผู้นั้นทราบ
        ๕.๓ เก็บหลักฐานการรับทราบของผู้ปกครองไว้
        ๕.๔ บันทึกการตัดคะแนนความประพฤติหรือบทลงโทษเป็นหลักฐานโดยครูอาจารย์งานวินัยและความประพฤตินักเรียน นักศึกษารวบรวมไว้เป็นหลักฐาน ๑ ชุด เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการกระทำความผิดครั้งต่อไปการตัดสินและติดตามประเมินผลการลงโทษตลอดจน นักเรียน นักศึกษาเรียนจบหลักสูตร
     ๖.การพิจารณาสั่งตัดคะแนนแต่ละครั้งให้จัดทำเอกสารขึ้นดังนี้
        - แจ้งนักเรียน นักศึกษาทราบ
        - แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าแผนกทราบ
        - แจ้งหัวหน้าฝ่ายฯทราบ
        - เก็บหลักฐานของฝ่ายวินัยและความประพฤติ
        โดยหลักฐานต่างๆ จะไปถึงอาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่ายฯ โดยงานวินัยและความประพฤตินักเรียน นักศึกษาจะจัดส่งหนังสือรับทราบ เมื่อนักเรียน นักศึกษากระทำผิดระเบียบ ๔๐ คะแนนขึ้นไป
     ๗.ระดับเกณฑ์การตัดคะแนน ความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา
        - ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๑๐ คะแนน ว่ากล่าวตักเตือน
        - ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๒๐ คะแนน แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองทราบ
        - ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๔๐ - ๗๐ คะแนน แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบทำทัณฑ์บน
        - ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๗๐ คะแนน แจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครองมาพบทำทัณฑ์บน พักการเรียน ๓ - ๗ วัน
        - ถูกตัดคะแนนความประพฤติ ๑๐๐ คะแนน เข้าคณะกรรมการการปกครองพิจารณาเป็นกรณีพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา
     ๘.การส่งเสริมการทำความดีของนักเรียน นักศึกษา
        - นักเรียน นักศึกษา ไม่ขาดเรียน และไม่ถูกตัดคะแนนความประพฤติเลย
        - เป็นนักเรียน นักศึกษาเรียนดี มีกิริยามารยาทดี มีสัมมาคารวะต่ออาจารย์
        - ช่วยเหลือผู้อื่น เก็บสิ่งของได้แล้วคืนเจ้าของ
        - มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีเมตตาเอื้อเฟื้อต่อเพื่อน และผู้อื่น
        - กตัญญูต่อบิดา มารดา บุพการีผู้เลี้ยงดู และต่อครู-อาจารย์
        - ช่วยเหลืองานสังคม เสียสละต่อสังคม และประเทศชาติ
        นักเรียน นักศึกษาที่มีพฤติกรรมในทางที่ดีจะได้รับการลดเพิ่มคะแนนความประพฤติ และได้รับมอบเกียรติบัตร โดยพิจารณาจากคณะกรรมการงานวิจัยนักศึกษา การมอบรางวัลจะจัดขึ้นในวันไหว้ครู หรือในโอกาสที่เหมาะสม
ขั้นตอนการตัดคะแนนความประพฤติ

การส่งจดหมายแจ้งการขาดเรียน


     ระเบียบการแต่งกายนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวช.สาขาพาณิชยกรรม
     1. ทรงผม
        ชาย - รองทรงสูงผมด้านหน้ายาวไม่เกินระดับคิ้ว ไม่ไว้จอน ไม่มีรากไทร และผมไม่แทงหู ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
        หญิง - กิ๊บหนีบผมห้ามใช้สีฉูดฉาดและขนาดใหญ่จนเกินไป ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
     2. ต่างหู
        ชาย - ห้ามใส่ต่างหู
        หญิง - อนุญาตให้ใส่ได้ข้างละ 1 อัน และ ขนาดจะต้องไม่ใหญ่ไปกว่าติ่งหู
     3. เครื่องประดับข้อมือ
        ชาย - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
        หญิง - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
     4. เสื้อนักเรียน
        ชาย - เสื้อเชิ๊ตสีขาวแขนสั้นตามแบบวิทยาลัย
        หญิง - เสื้อเชิ๊ตสีขาวแขนยาวตามแบบวิทยาลัย
     5. เสื้อสูท
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่โรงเรียนกำหนด
     6. เนคไท
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
     7. เข็มกลัด
        ชาย - ติดเข็มกลัดที่หน้าอกเสื้อด้านขวามือ
        หญิง - ติดเข็มกลัดที่หน้าอกเสื้อด้านขวามือ
     8. เข็มขัด
        ชาย - เข็มขัดวิทยาลัย
        หญิง - เข็มขัดวิทยาลัย
     9. กางเกง กระโปรง
        ชาย - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ขาทรงกระบอกเท่านั้น
        หญิง - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ความยาวระดับเข่า
     10. ถุงเท้านักเรียน
        ชาย - สีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - สีขาวล้วนไม่มีลาย
     11. รองเท้านักเรียน
        ชาย - คัดชูหนังแบบมีเชือกสีดำล้วน ไม่มีลาย หรือรองเท้าผ้าใบสีดำแบบมีเชือกสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - คัดชูหนังสีขาวล้วน ไม่มีลาย รองเท้าหนังสีดำ (แบบนักเรียนมัธยม) ไม่มีลาย
     12. ชุดพละ
        ชาย - เสื้อสีส้มแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัย ห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
        หญิง - เสื้อสีส้มแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัย ห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
     13. ถุงเท้าพละ
        ชาย - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
        หญิง - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
     14. รองเท้าพละ
        ชาย - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
     15. อื่น ๆ
        ชาย - ห้ามไว้หนวด เล็บ หรือทาสีเล็บ
        หญิง - ห้ามไว้เล็บ หรือทาสีเล็บ ห้ามแต่งหน้าจัด

     ระเบียบการแต่งกายนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวช.สาขาช่างอุตสาหกรรม
     1. ทรงผม
        ชาย - รองทรงสูงผมด้านหน้ายาวไม่เกินระดับคิ้ว ไม่ไว้จอน ไม่มีรากไทร และผมไม่แทงหู ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
        หญิง - กิ๊บหนีบผมห้ามใช้สีฉูดฉาดและขนาดใหญ่จนเกินไป ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
     2. ต่างหู
        ชาย - ห้ามใส่ต่างหู
        หญิง - อนุญาตให้ใส่ได้ข้างละ 1 อัน และ ขนาดจะต้องไม่ใหญ่ไปกว่าติ่งหู
     3. เครื่องประดับข้อมือ
        ชาย - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
        หญิง - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
     4. เสื้อนักเรียน
        ชาย - เสื้อเชิ๊ตสีขาวแขนสั้นตามแบบวิทยาลัย
        หญิง - เสื้อเชิ๊ตสีขาวแขนสั้นตามแบบวิทยาลัย
     5. เสื้อสูท
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด และต้องติดกระดุมทุกเม็ด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด และต้องติดกระดุมทุกเม็ด
     6. เนคไท
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
     7. เข็มขัด
        ชาย - เข็มขัดวิทยาลัย
        หญิง - เข็มขัดวิทยาลัย
     8. กางเกง กระโปรง
        ชาย - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ขาทรงกระบอกเท่านั้น
        หญิง - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ความยาวระดับเข่า
     9. ถุงเท้านักเรียน
        ชาย - สีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - สีดำล้วนไม่มีลาย
     10. รองเท้านักเรียน
        ชาย - คัดชูหนังแบบมีเชือกสีดำล้วน ไม่มีลาย หรือรองเท้าผ้าใบสีดำแบบมีเชือกสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - คัดชูหนังสีดำล้วน ไม่มีลาย
     11. ชุดพละ
        ชาย - เสื้อสีส้มแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัย ห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
        หญิง - เสื้อสีส้มแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัยห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
     12. ถุงเท้าพละ
        ชาย - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
        หญิง - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
     13. รองเท้าพละ
        ชาย - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
     14. อื่น ๆ
        ชาย - ห้ามไว้หนวด เล็บ หรือทาสีเล็บ
        หญิง - ห้ามไว้เล็บ หรือทาสีเล็บ ห้ามแต่งหน้าจัด

     ระเบียบการแต่งกายนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวส.สาขาบริหารธุรกิจ
     1. ทรงผม
        ชาย - รองทรงสูงผมด้านหน้ายาวไม่เกินระดับคิ้ว ไม่ไว้จอน ไม่มีรากไทร และผมไม่แทงหู ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
        หญิง - กิ๊บหนีบผมห้ามใช้สีฉูดฉาดและขนาดใหญ่จนเกินไป ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
     2. ต่างหู
        ชาย - ห้ามใส่ต่างหู
        หญิง - อนุญาตให้ใส่ได้ข้างละ 1 อัน และ ขนาดจะต้องไม่ใหญ่ไปกว่าติ่งหู
     3. เครื่องประดับข้อมือ
        ชาย - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
        หญิง - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
     4. เสื้อนักเรียน
        ชาย - เสื้อเชิ๊ตแขนยาวสีขาวตามแบบวิทยาลัย
        หญิง - เสื้อเชิ้ตสีขาวตามแบบวิทยาลัย ไม่รัดรูป
     5. เนคไท
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
     6. เข็มกลัด
        ชาย - ติดเข็มกลัดที่เนคไท
        หญิง - ติดเข็มกลัดที่หน้าอกเสื้อด้านขวามือ
     7. เข็มขัด
        ชาย - เข็มขัดวิทยาลัย
        หญิง - เข็มขัดวิทยาลัย
     8. กางเกง กระโปรง
        ชาย - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ขาทรงกระบอกเท่านั้น
        หญิง - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ความยาวสูงกว่าระดับเข่าไม่เกิน 2 นิ้ว
     9. ถุงเท้านักเรียน
        ชาย - สีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - ไม่ใส่ถุงเท้า
     10. รองเท้านักเรียน
        ชาย - คัดชูหนังแบบมีเชือกสีดำล้วน ไม่มีลาย หรือรองเท้าผ้าใบสีดำแบบมีเชือกสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - คัดชูหนังสีดำล้วน ไม่มีลาย ความสูงไม่เกิน 2 นิ้ว
     11. ชุดพละ
        ชาย - เสื้อสีฟ้าแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัย ห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
        หญิง - เสื้อสีฟ้าแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัย ห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
     12. ถุงเท้าพละ
        ชาย - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
        หญิง - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
     13. รองเท้าพละ
        ชาย - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
     14. อื่น ๆ
        ชาย - ห้ามไว้หนวด เล็บ หรือทาสีเล็บ
        หญิง - ห้ามไว้เล็บ หรือทาสีเล็บ ห้ามแต่งหน้าจัด

     ระเบียบการแต่งกายนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวส.สาขาช่างอุตสาหกรรม
     1. ทรงผม
        ชาย - รองทรงสูงผมด้านหน้ายาวไม่เกินระดับคิ้ว ไม่ไว้จอน ไม่มีรากไทร และผมไม่แทงหู ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
        หญิง - กิ๊บหนีบผมห้ามใช้สีฉูดฉาดและขนาดใหญ่จนเกินไป ไม่ย้อม ไม่ดัด และไม่ทำไฮไลท์
     2. ต่างหู
        ชาย - ห้ามใส่ต่างหู
        หญิง - อนุญาตให้ใส่ได้ข้างละ 1 อัน และ ขนาดจะต้องไม่ใหญ่ไปกว่าติ่งหู
     3. เครื่องประดับข้อมือ
        ชาย - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
        หญิง - อนุญาตให้ใส่กำไรได้แต่ต้องไม่ขนาดใหญ่เกินไปและใส่ได้ข้างละ 1 อันเท่านั้น
     4. เสื้อนักเรียน
        ชาย - เสื้อเชิ๊ตสีขาวแขนยาวตามแบบวิทยาลัย
        หญิง - เสื้อเชิ้ตสีขาวตามแบบวิทยาลัย ไม่รัดรูป
     5. เสื้อชอป
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด และต้องติดกระดุมทุกเม็ด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด และต้องติดกระดุมทุกเม็ด
     6. เนคไท
        ชาย - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
        หญิง - ใช้รูปแบบและสีตามที่วิทยาลัยกำหนด
     7. เข็มขัด
        ชาย - เข็มขัดวิทยาลัย
        หญิง - เข็มขัดวิทยาลัย
     8. กางเกง กระโปรง
        ชาย - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ขาทรงกระบอกเท่านั้น
        หญิง - ใช้ตามแบบและสีที่วิทยาลัยกำหนด ความยาวสูงกว่าระดับเข่าไม่เกิน 2 นิ้ว
     9. ถุงเท้านักเรียน
        ชาย - สีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - ไม่ใส่ถุงเท้า
     10. รองเท้านักเรียน
        ชาย - คัดชูหนังแบบมีเชือกสีดำล้วน ไม่มีลาย หรือรองเท้าผ้าใบสีดำแบบมีเชือกสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - คัดชูหนังสีดำล้วน ไม่มีลาย ความสูงไม่เกิน 2 นิ้ว
     11. ชุดพละ
        ชาย - เสื้อสีฟ้าแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัยห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
        หญิง - เสื้อสีฟ้าแบบที่วิทยาลัยกำหนด กางเกงวอร์มแบบวิทยาลัยห้ามแก้ทรงโดยเด็ดขาด
     12. ถุงเท้าพละ
        ชาย - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
        หญิง - สีขาว หรือสีดำล้วน ไม่มีลาย
     13. รองเท้าพละ
        ชาย - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
        หญิง - ผ้าใบสีขาวหรือสีดำล้วนไม่มีลาย
     14. อื่น ๆ
        ชาย - ห้ามไว้หนวด เล็บ หรือทาสีเล็บ
        หญิง - ห้ามไว้เล็บ หรือทาสีเล็บ ห้ามแต่งหน้าจัด


งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
การออกฝึกงานของนักเรียนนักศึกษาระดับ ปวช.3 และ ปวส.2 (ภาคปกติ)
     วัตถุประสงค์ของการออกฝึกงาน
        ๑. เพื่อให้ผู้เรียนได้เพิ่มทักษะสร้างเสริมประสบการณ์ และพัฒนาวิชาชีพตามสภาพความเป็นจริงในสถานประกอบการและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
        ๒. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ถึงสภาพปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
        ๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบตามอัตลักษณ์วิทยาลัย มีระเบียบวินัยและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        ๔. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในการทำงาน มีความภูมิใจในวิชาชีพ
        ๕. เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การศึกษาตามหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษากำหนด
     ๑. นักเรียนนักศึกษา ที่มีสิทธิ์ในการออกฝึกงาน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
        ๑.๑ เกรดเฉลี่ยสะสม ต้องไม่ต่ำกว่า 2.00และไม่ติด 0 มส. ขส. ขป. ในรายวิชาใดทั้งสิ้น
        ๑.๒ เข้าร่วมกิจกรรมของทางวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ
        ๑.๓ มีความประพฤติดีอยู่ในกฎระเบียบวินัยของสถานศึกษา
        ๑.๔ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยอาจารย์หัวหน้าฝ่ายทุกฝ่าย
        ๑.๕ ต้องผ่านการปฐมนิเทศ ก่อนออกฝึกงาน
     ๒. การเลือกสถานที่ฝึกงาน
        อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์นิเทศ และหัวหน้าสาขาวิชา ร่วมกันพิจารณาเลือกสถานที่ฝึกงานที่เหมาะสมให้กับนักเรียนนักศึกษา พิจารณาจากการเดินทาง ผลการเรียน เป้าหมายการศึกษาต่อจะต้องยื่นคำร้องก่อนออกฝึกงานอย่างน้อย 30 วัน เพื่อให้งานนิเทศนักเรียน นักศึกษาฝึกงานได้พิจารณาดำเนินการต่อไป
     ๓. การปฏิบัติเกี่ยวกับการขาด ลา มาสาย
        ๓.๑ กรณีสาย สาย 3 ครั้ง เท่ากับ ขาดการปฏิบัติหน้าที่ 1 วัน
        ๓.๒ การขาดงานหากนักเรียนนักศึกษาขาดการปฏิบัติงานติดต่อกันเป็นเวลา 3 วันโดยไม่มีสาเหตุ หรือไม่มีการแจ้งลากับสถานประกอบการแต่อย่างใด ทางวิทยาลัยฯ มีสิทธิ์เรียกตัวนักศึกษากลับทันทีที่ทราบและถือว่า ไม่ผ่านการฝึกงาน จะต้องลงทะเบียนในรายวิชาการฝึกงานใหม่
        ๓.๓ หากนักเรียนนักศึกษามีความจำเป็นต้องลากิจต้องแจ้งพร้อมยื่นใบลาล่วงหน้าก่อน 3 วันและต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะหยุดงานได้ (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริงๆ)
        ๓.๔ การลาป่วย
          - เบื้องต้น แจ้งการลาป่วยทันทีกับครูพี่เลี้ยง ครูฝึก
          - ทันทีที่กลับเข้ามาฝึกงาน ให้ยื่นใบลา พร้อมใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
        ๓.๕ ในกรณีหยุดงานในวันศุกร์หรือวันจันทร์ติดต่อกันเช่น (ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์-จันทร์) หรือวันทำงานที่ติดต่อกันกับวันหยุดราชการหลายวัน หรือกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้นักเรียน นักศึกษาฝึกงานชดเชยจนครบตามระยะเวลาจำนวนชั่วโมงของการฝึกนั้น
     ๔. นักเรียนนักศึกษา ที่เรียนวิชาทหาร (รด.)
        สถานศึกษาทำหนังสือแจ้งรายชื่อนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นนักศึกษาวิชาทหารส่งไปให้สถานประกอบการรับทราบ และเมื่อมีการเรียนการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร สถานประกอบการจะอนุญาตให้ไปฝึกนักศึกษาวิชาทหารโดยไม่นับเป็นวันลาแต่อย่างใด
     ๕. การนิเทศนักเรียน นักศึกษาฝึกงาน
        มีการนิเทศเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมการนิเทศแบบออนไลน์ผ่าน Face Book/Line ทุกสัปดาห์เพื่อ
        ๕.๑ ควบคุมพฤติกรรมของนักเรียนนักศึกษาฝึกงาน
        ๕.๒ แก้ปัญหาให้กับนักเรียนนักศึกษาฝึกงานที่ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้
        ๕.๓ ติดตามดูแลประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
     ๖. ผู้ประเมินการฝึกงาน
        ผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาผลการฝึกงานของนักเรียน นักศึกษาว่าผ่านหรือไม่ผ่านคือ หัวหน้าสถานประกอบการที่เป็นครูพี่เลี้ยง ครูผู้ควบคุม ครูฝึก ตลอดจนอาจารย์ที่ทำการนิเทศเป็นคณะกรรมการร่วมกันดำเนินการพิจารณาตัดสิน
     ๗. การพิจารณาผ่านหรือไม่ผ่านการฝึกงาน
        ๗.๑ นักเรียนนักศึกษาฝึกงาน ผ่านการประเมินในข้อ ๖ แล้วให้ถือว่า ผ่านการฝึกงาน
        ๗.๒ นักเรียนนักศึกษาคนใดที่ไม่ผ่านการฝึกงานจะต้องลงทะเบียนในรายวิชาการฝึกงานใหม่ และจะได้รับใบแสดงผลการเรียนพร้อมกับนักเรียนนักศึกษาฝึกงานที่จบรุ่นต่อไป